Saturday, December 17, 2011

Part 3: Education Today and the Road Ahead


สมาชิกในกลุ่ม /พนิตนาฎ ชำนาญเสือ/มยุรา นพพรพันธุ์ /สุดารัตน์ สุวารี/นิพิฐพนธ์ สนิทเหลือ

1. การวิเคราะห์ Part III : Education Today and The Road Ahead
การศึกษาของฟินแลนด์รับผิดชอบโดยกระทรวงศึกษาธิการ มีคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติเป็นหน่วยนโยบายและประเมินผลการให้บริการการศึกษาของท้องถิ่น
สภาพปัจจุบันการจัดการศึกษา
Pre secondary Education
การศึกษาปฐมวัย เด็กวัยก่อน 7 ขวบ เรียนรู้จากครอบครัวและชุมชนมากกว่าที่จะเข้าโรงเรียน ห้องเรียนแบ่งเด็กตามกลุ่มอายุ จำนวนเด็กต่อห้องไม่มาก ใช้เวลาเรียนไม่มาก เน้นการเรียนการสอนผ่านการเล่นและกิจกรรม เน้นการประเมินพัฒนาการทางสังคมและการเรียนรู้ของเด็กแต่ละคน
การศึกษาขั้นพื้นฐาน กฎหมายให้เด็กเรียนภาคบังคับถึงมัธยมต้น เทศบาลเป็นหน่วยงานรับผิดชอบ ผู้ปกครองอาจเลือกที่จะจัดการศึกษาเอกโดยไม่ส่งเด็กเข้าโรงเรียนก็ได้ นักเรียนเรียนฟรี รักษาฟรี อาหารฟรี รถรับส่งฟรี
เป้าหมายของการศึกษา มุ่งส่งเสริมและพัฒนามนุษยธรรม คุณธรรม และความรับผิดชอบต่อสังคม รวมทั้งฝึกทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต
หลักสูตร ใช้หลักสูตรแกนกลางของรัฐ
วิธีการสอน ครูเลือกใช้ให้เหมาะสมกับเนื้อหาวิชา , ให้ความสำคัญต่อการเรียนแบบร่วมมือกันทำงานเป็นทีม, เรียนรู้แบบลงมือทำสูง ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้และการพัฒนารอบด้านมากกว่าการเรียนแบบแข่งขัน
ครู มาจากกลุ่มคนเรียนดี ส่วนใหญ่จบป.โท ได้รับมอบอำนาจให้รับผิดชอบในการบริหารจัดการเรียนการสอนได้อย่างอิสระ
การประเมินผล เน้นเป้าหมายการแนะแนว การส่งเสริมการเรียน และพัฒนาทักษะของเด็กแต่ละคน ไม่มีการให้เกรดเป็นตัวเลข
Upper secondary Education
แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สามัญศึกษากับอาชีวศึกษา นักเรียนเลือกสายการเรียนตามความถนัดความพอใจ
ผู้เรียนเรียนฟรี (รัฐสนับสนุนงบประมาณ) ยกเว้นค่าใช้จ่ายอุปกรณ์การเรียน ผู้เรียนส่วนใหญ่เลือกเรียนสายอาชีพ เนื่องจากเงินเดือนหลังจบเงินเดือนไม่แตกต่างกัน
เทศบาลรับผิดชอบการจัดการศึกษา
เป้าหมายการจัดการศึกษาคือมุ่งอบรมเยาวชนให้เป็นพลเมืองดี มีความรู้และทักษะที่จำเป็นในการศึกษาต่อ การทำงาน การพัฒนาบุคลิกภาพ และวุฒิภาวะ
หลักสูตร ใช้หลักสูตรแกนกลาง
การประเมินผลใช้วิธีประเมินด้วยการสอบ อาจารย์ใหญ่กับครูผู้สอนประเมินร่วมกัน เน้นการประเมินความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของน.ร.แต่ละคนมากกว่าการวัดผลด้วยการสอบแบบมาตรฐาน สำหรับการวัดผลด้วยการสอบแบบมาตรฐานใช้เฉพาะตอนสอบมัธยมปลายปีสุดท้าย

การปฏิรูปการศึกษา
ในปฏิรูปโครงสร้างการศึกษาในปีค.ศ. 1968 เน้นปฏิรูปโรงเรียนขั้นพื้นฐาน โดยมีแนวคิด“การศึกษามีทั้งผลโดยตรงต่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี และต่อความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ”เป็นการให้บริการการศึกษาที่เสมอภาค (ทุกคนมีสิทธิเรียนอย่างทั่วถึง, คุณภาพการเรียนการสอนใกล้เคียงกัน) ในการจัดการศึกษาภาคบังคับฟรี 9 ปี

หลักสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานของฟินแลนด์ คือต้องสร้างโรงเรียนที่ดีที่สุดสำหรับทุกคน ไม่ใช่แค่สำหรับบางคน การปฏิรูปการศึกษาเป็นเรื่องที่ต้องทำแบบวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่อง โรงเรียนที่ประสบความสำเร็จจะต้องเป็นส่วนที่แยกไม่ออกจากสังคม ทั้งด้านการเมือง วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ (เป็นความรับผิดชอบของคนทุกคนในชุมชนและในประเทศ) ให้ความนับถือในเรื่องการจัดการศึกษาแบบมืออาชีพ ทั้งในระดับท้องถิ่น ครู ผู้บริหาร
ขั้นตอนการปฏิรูป มีการระดมสมองผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (ผู้เชี่ยวชาญทางการศึกษา กลุ่มผลประโยชน์ ครู ผู้บริหาร) มีการกระจายอำนาจให้โรงเรียน และองค์กรบริหารท้องถิ่น ให้มีความรับผิดชอบที่จะพัฒนาหลักสูตรของตนเอง เลือกหนังสือเรียนเอง เลือกวิธีสอนได้เอง การประเมินผล ไม่ได้ใช้การสอบแบบมาตรฐาน แต่เป็นการประเมินสิ่งที่นักเรียนแต่ละคนเรียนรู้และความก้าวหน้าของเขา เพื่อช่วยชี้แนะให้เขาเรียนรู้ปรับปรุงตัวเอง สอบมาตรฐานระดับชาติเพียงครั้งเดียวตอนจบชั้นม.ปลาย
ทศวรรษ 1990 ฟินแลนด์ประสบปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำเช่นเดียวกันกับประเทศทั่วโลก แต่ปัจจุบันมีการปฏิรูปเป็นสังคมฐานความรู้ โดยขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่มีทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพสูง มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างกว้างขวาง ภาคการศึกษาและการวิจัยได้รับการออกแบบให้สนับสนุนการสร้างนวัตกรรม
ผลสำเร็จการปฏิรูปการศึกษาของฟินแลนด์ จากผลการสำรวจพบว่าเด็กอายุ 10 ปีของฟินแลนด์ อ่านหนังสือมากที่สุดในโลก ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของผู้เรียนในแต่ละโรงเรียนไม่แตกต่างกันมาก

ปัจจัยความสำเร็จ 6 ประการ
1. โรงเรียนภาคบังคับ 9 ปีที่มีคุณภาพเท่าเทียมกัน : ผลการวิจัยพบว่าการศึกษาขั้นพื้นฐานมีการปลูกฝังทักษะและทัศนคติต่อผู้เรียนในเรื่องการศึกษาตลอดชีวิต ครูในโรงเรียนภาคบังคับต้องจบการศึกษาระดับปริญญาโท โรงเรียนมีขนาดเล็กแต่มีอุปกรณ์ครบครัน ครูกับนักเรียนมีความใกล้ชิดกัน โรงเรียนเป็นทั้งสถานที่เล่น เรียนรู้ และพัฒนาผู้เรียนอย่างรอบด้าน นักเรียนได้รับอาหารฟรีวันละ 2 มื้อ การดูแลสุขภาพฟรี รถรับส่งฟรี อุปกรณ์การเรียนรู้ฟรี
2. ครู: วิชาชีพครูได้รับการยอมรับนับถือในสังคม ภาคธุรกิจนิยมรับผู้ที่เคยผ่านอาชีพครูเข้าทำงาน พ่อแม่ให้ความเชื่อถือในครูมาก ผู้ที่เรียนดีนิยมเลือกอาชีพครู ครูมีอิสระในการเลือกวิธีจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน ครูส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาโท นิยมศึกษาต่อถึงระดับปริญญาเอก การศึกษาครู มีความสมดุลระหว่างวิชาภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ครูมีบทบาทร่วมในการพัฒนาโรงเรียน และมีส่วนร่วมในโครงการระดับชาติและนานาชาติ
3. ภาวะผู้นำอย่างยั่งยืน: แนวคิดพื้นฐานของการจัดการศึกษา คือการศึกษาเป็นบริการสาธารณะ การศึกษาเป็นฐานของความสำเร็จในตลาดโลก โรงเรียนและครูให้ความสนใจในการพัฒนาการเรียนการสอนตามความต้องการของชุมชน ตามศักยภาพของโรงเรียน โดยมีแผนพัฒนาและกลยุทธ์รองรับ ภายใต้กรอบที่รัฐกำหนด ครูสนใจพัฒนาความรู้ความสามารถของตนเอง และมีการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น
4. การให้การยกย่องและรางวัลสำหรับนวัตกรรม: การให้การยอมรับว่าแต่ละโรงเรียนมีแนวคิดที่มีคุณค่า และรู้หนทางที่จะทำให้ประสบความสำเร็จ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากผู้ที่ประสบความสำเร็จ มีการสร้างชุมชนการเรียนรู้ระหว่างโรงเรียน และระหว่างครู โครงการที่เรียกว่า "aquarium project" เป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาล เทศบาล และ โรงเรียน มีเป้าหมายให้โรงเรียนและครูร่วมกันพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอน โดยสร้างเครือข่ายด้านทรัพยากรบุคคล มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทดสอบปฏิบัติ
5. ความรับผิดชอบที่ยืดหยุ่น เช่น เน้นที่การเรียนรู้ไม่ใช่การทดสอบ: ครูเป็นผู้ประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน การประเมินด้วยแบบทดสอบมาตรฐานทำครั้งเดียวเมื่อจบการศึกษาภาคบังคับ มีผลดี คือเด็กนักเรียนชั้นเด็กเล็กถึงเกรด 5 ไม่ได้วัดผลเป็นเกรด จึงไม่ต้องเปรียบเทียบกับผู้อื่น ครูมีอิสระในการวางแผนหลักสูตร จัดเวลาเรียนได้เอง ครูเลือกวิธีสอนได้เอง ทำให้เด็กไม่เครียด ครูก็ไม่เครียด
6. วัฒนธรรมเชื่อใจ: พ่อแม่ นักเรียน องค์กรต่างๆ ไว้วางใจในครูและโรงเรียนว่าจะสามารถพัฒนาผู้เรียนได้อย่างดีที่สุด รัฐบาลบริหารประเทศด้วยหลักธรรมาภิบาล แทบจะไม่มีคอร์รัปชั่น ครูและโรงเรียนได้รับเชิญให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมพัฒนาสังคม

สิ่งที่ท้าทายในอนาคต
1. โครงสร้างประชากรเปลี่ยน โดยสัดส่วนประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้น จึงมีการหลักสูตรการศึกษาเพื่อรองรับความต้องการการศึกษาของผู้สูงอายุ
2. ประชากรเกษียณอายุมีอัตราเพิ่มขึ้นมากกว่าประชากรที่เข้าสู่วัยแรงงาน จึงมีการวางแผนยืดระยะเวลาเกษียณอายุของแรงงาน
3. ระยะเวลาของคนในวัยเรียนยาวนานขึ้น ทำให้เกิดภาวะการขาดแคลนประชากรในตลาดแรงงาน
4. คนที่ศึกษาในระดับอุดมศึกษาเพิ่มมากขึ้น คนที่เรียนระดับอาชีวะอาจลดลง
5. ความแตกต่างของสถานศึกษาในแต่ละพื้นที่ โดยพบว่าในบางพื้นที่ นักเรียนในโรงเรียนมีจำนวนลดลง
6. มีชุมชนเล็กๆ อยู่เป็นจำนวนมาก ที่ต้องทำให้เกิดความร่วมมือระหว่างชุมชน
7. ขาดแคลนครู โดยพบว่าอายุเฉลี่ยของครูค่อนข้างสูง แก้ไขโดยให้มหาวิทยาลัยเพิ่มการผลิตครู
8. ปัญหาสังคมที่ส่งผลโรงเรียน แก้ไขโดยการปรับปรุงระบบการให้การปรึกษาแก่นักเรียน

2. แนวคิดหรือหลักทฤษฎี ในการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา
ฟินแลนด์เป็นประเทศรัฐสวัสดิการ ในการปฏิรูประบบการศึกษาเมื่อปี ค.ศ. 1968 รัฐบาลได้วางแผนเชิงกลยุทธ์ โดยมีวิสัยทัศน์ร่วมกันว่า การศึกษามีทั้งผลโดยตรงต่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี และต่อความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ ซึ่งขณะนั้น ฟินแลนด์กำลังปรับเปลี่ยนจากประเทศที่มีฐานอยู่บนการเกษตร ป่าไม้ การประมง ไปเป็นประเทศพัฒนาอุตสาหกรรม การค้าและการบริการที่ใช้เทคโนโลยี่ระดับสูง
ดังนั้น ฟินแลนด์จึงนำทฤษฎีระบบมาใช้ในการปฏิรูปการศึกษา โดยนำประเด็นความต้องการการเปลี่ยนแปลงประเทศมาเป็นสภาพแวดล้อมที่มากระทบกับระบบการศึกษา และตั้งผลลัพธ์ทางการศึกษาที่คุณภาพของคนในประเทศที่จะพัฒนาประเทศไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ

จากประเด็น การจัดการศึกษาในวันนี้และเส้นทางการศึกษาแห่งอนาคตของการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาของประเทศฟินแลนด์นั้น จะเห็นได้ว่ามี ปัจจัยแห่งความสำเร็จ 6 ประการ ซึ่งสามารถวิเคราะห์แนวคิดการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาในกรอบของทฤษฎีระบบ ดังนี้

2.1 ปัจจัยนำเข้า
2.1.1 นโยบายการศึกษา
นโยบายการจัดการศึกษาที่เน้นความเสมอภาคเท่าเทียมกัน เป็นมาตรฐานโรงเรียนภาคบังคับ 9 ปีที่มีคุณภาพเท่าเทียมกัน : โรงเรียนเป็นทั้งสถานที่เล่น เรียนรู้ และพัฒนาผู้เรียนอย่างรอบด้าน นักเรียนได้รับอาหารฟรีวันละ 2 มื้อ การดูแลสุขภาพฟรี รถรับส่งฟรี อุปกรณ์การเรียนรู้ฟรี
2.1.2 ครูที่ดี
— สร้างครูที่ดี ทั้งนี้ในประเทศฟินแลนด์วิชาชีพครูได้รับการยอมรับนับถือในสังคม ภาคธุรกิจนิยมรับผู้ที่เคยผ่านอาชีพครูเข้าทำงาน พ่อแม่ให้ความเชื่อถือในครูมาก ผู้ที่เรียนดีนิยมเลือกอาชีพครู ครูมีอิสระในการเลือกวิธีจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน ครูส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาโท นิยมศึกษาต่อถึงระดับปริญญาเอก การศึกษาครู มีความสมดุลระหว่างวิชาภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ครูมีบทบาทร่วมในการพัฒนาโรงเรียน และมีส่วนร่วมในโครงการระดับชาติและนานาชาติ การพัฒนาครูที่ดี มีคุณลักษณะ ดังนี้
— A guide to learning & growth
— An Expert
— A Complete person
— A Responsive responsible adult
— A Director of Learning activities
A Instiller of values
2.1.3 หลักสูตร
มีการจัดหลักสูตรที่เป็นหลักสูตรแกนกลางของรัฐ แต่ครูสามารถใช้วิธีการสอน ที่เหมาะสมกับเนื้อหาวิชา , ให้ความสำคัญต่อการเรียนแบบร่วมมือกันทำงานเป็นทีม, เรียนรู้แบบลงมือทำสูง ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้และการพัฒนารอบด้านมากกว่าการเรียนแบบแข่งขัน
2.2 กระบวนการ
2.2.1 สร้างภาวะผู้นำอย่างยั่งยืน: แนวคิดพื้นฐานของการจัดการศึกษา คือการศึกษาเป็นบริการสาธารณะ การศึกษาเป็นฐานของความสำเร็จในตลาดโลก โรงเรียนและครูให้ความสนใจในการพัฒนาการเรียนการสอนตามความต้องการของชุมชน ตามศักยภาพของโรงเรียน โดยมีแผนพัฒนาและกลยุทธ์รองรับ ภายใต้กรอบที่รัฐกำหนด ครูสนใจพัฒนาความรู้ความสามารถของตนเอง และมีการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น
2.2.2 การจัดการความรู้องค์กร มีการให้การยกย่องและรางวัลสำหรับนวัตกรรม: การให้การยอมรับว่าแต่ละโรงเรียนมีแนวคิดที่มีคุณค่า และรู้หนทางที่จะทำให้ประสบความสำเร็จ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากผู้ที่ประสบความสำเร็จ มีการสร้างชุมชนการเรียนรู้ระหว่างโรงเรียน และระหว่างครู โครงการที่เรียกว่า "aquarium project" เป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาล เทศบาล และ โรงเรียน มีเป้าหมายให้โรงเรียนและครูร่วมกันพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอน โดยสร้างเครือข่ายด้านทรัพยากรบุคคล มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทดสอบปฏิบัติ
2.2.3 การวัดและการประเมินผล เน้นความรับผิดชอบที่ยืดหยุ่น ซึ่งจัดการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่ไม่ใช่การทดสอบ: ครูเป็นผู้ประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน การประเมินด้วยแบบทดสอบมาตรฐานทำครั้งเดียวเมื่อจบการศึกษาภาคบังคับ มีผลดี คือเด็กนักเรียนชั้นเด็กเล็กถึงเกรด 5 ไม่ได้วัดผลเป็นเกรด จึงไม่ต้องเปรียบเทียบกับผู้อื่น ครูมีอิสระในการวางแผนหลักสูตร จัดเวลาเรียนได้เอง ครูเลือกวิธีสอนได้เอง ทำให้เด็กไม่เครียด ครูก็ไม่เครียด
— 2.2.4 ระบบความมีส่วนร่วม กระบวนการบริหารมุ่งเน้นระบบการมีส่วนร่วม ทั้งผู้บริหารการศึกษา ครู ผู้แทนจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในท้องถิ่น และผู้ปกครอง โดยมี การระดมสมอง เจาะลึกปัญหา ตั้งเป้าหมายทางการศึกษา กำหนดวัตถุประสงค์ของหลักสูตร กิจกรรมการเรียนรู้ วิธีการประเมินผล ร่วมกัน โดยใช้ระบบโรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาการศึกษา
2.2.5 การจัดการเรียนการสอน ที่พัฒนาศักยภาพผู้เรียนที่ มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยจัดการเรียนรู้ในลักษณะที่ผู้เรียนมีความกระตือรือร้น(Active learning) ประเมินตนเอง(Self evaluation) ความสามารถในการตัดสินใจ( Decision making) วางแผนการเรียนรู้จนถึงอนาคต(Learning Plan) และการเรียนแบบร่วมมือ(Cooperative learning)
2.3 ผลลัพธ์
ผลสำเร็จการปฏิรูปการศึกษาของฟินแลนด์ พบว่าเด็กอายุ 10 ปีของฟินแลนด์ อ่านหนังสือมากที่สุดในโลก ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของผู้เรียนในแต่ละโรงเรียนไม่แตกต่างกันมาก นักเรียนมัธยมฟินแลนด์ที่เข้าทดสอบประเมินผลระหว่างชาติตามโครงการ PISA ทำคะแนนได้ดีและนักเรียนทั้งประเทศมีคะแนนต่างกันน้อยกว่านักเรียนจากประเทศอื่น


3. การปฏิรูปการศึกษาเชิงเปรียบเทียบกับฟินแลนด์
3.1 ข้อมูลทั่วไปการปฏิรูปการศึกษารอบสอง
การปฏิรูปการศึกษา คือ การปรับเปลี่ยนพัฒนาเพื่อให้การศึกษาสามารถสร้างคนดีให้กับสังคมและเป็นพลังในการพัฒนาประเทศให้สามารถแข่งขันกับนานาอารยประเทศบนพื้นฐานของวัฒนธรรมและความเป็นไทย
การปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 มีความมุ่งหมาย ที่จะจัดการเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนดีมีความสามารถและอยู่ร่วมกับสังคมอย่างมีความสุข การดำเนินงานตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีพลังและมีประสิทธิภาพจำเป็นต้องยึดเงื่อนไขและหลักการสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
วิสัยทัศน์ : คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ
กรอบแนวทางการปฏิรูปการศึกษา
การปฏิรูปการศึกษา ได้กำหนดจากกรอบ ต่อไปนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ๒๕๔๒ ข้อเสนอแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. ๒๕๕๒ - ๒๕๖๑) แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. ๒๕๕๒ - ๒๕๕๙) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐ (พ.ศ. ๒๕๕๐ – ๒๕๕๔) นโยบายรัฐบาลด้านการศึกษา และ นโยบาย ยุทธศาสตร์ และมาตรการพัฒนา กศ.ศธ.
เป้าหมาย
ภายในปี ๒๕๖๑ มีการปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ โดยเน้นเป้าหมายหลักสามประการ
¶ คุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและเรียนรู้
¶ เพิ่มโอกาสทางการศึกษาและเรียนรู้อย่างทั่วถึง และมีคุณภาพ
¶ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของสังคมในการบริหารและจัดการศึกษา
กรอบแนวทางการปฏิรูปการศึกษา ๔ ใหม่
¶ พัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่
¶ พัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่
¶ พัฒนาคุณภาพสถานศึกษา และแหล่งเรียนรู้ ยุคใหม่
¶ พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม่


3.2 บทวิเคราะห์เปรียบเทียบกับปัจจัยความสำเร็จ 6 ประการ
1. โรงเรียนภาคบังคับ 9 ปีที่มีคุณภาพเท่าเทียมกัน :

ฟินแลนด์
แนวการปฏิรูปการศึกษา
การศึกษาขั้นพื้นฐานมีการปลูกฝังทักษะและทัศนคติต่อผู้เรียนในเรื่องการศึกษาตลอดชีวิต ครูในโรงเรียนภาคบังคับต้องจบการศึกษาระดับปริญญาโท โรงเรียนมีขนาดเล็กแต่มีอุปกรณ์ครบครัน ครูกับนักเรียนมีความใกล้ชิดกัน โรงเรียนเป็นทั้งสถานที่เล่น เรียนรู้ และพัฒนาผู้เรียนอย่างรอบด้าน นักเรียนได้รับอาหารฟรีวันละ 2 มื้อ การดูแลสุขภาพฟรี รถรับส่งฟรี อุปกรณ์การเรียนรู้ฟรี
สภาพปัจจุบัน คนไทยยังไม่สามารถเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพและเท่าเทียมกันได้
การปฏิรูป
มีการกำหนดวิสัยทัศน์ คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ โดยยึด 3 D 4 ใหม่ เป็นหัวใจ การกำหนดนโยบาย 5 ฟรี ได้แก่ เรียนฟรี / Tutor Channel /นมโรงเรียน /อาหารกลางวันตั้งแต่อนุบาลถึง ป.6 100% /คนพิการเรียนฟรีถึงปริญญาตรี/ด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 49 ได้บัญญัติว่า บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่า 12 ปี ที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย

2. ครู :
ฟินแลนด์
แนวการปฏิรูปการศึกษา
วิชาชีพครูได้รับการยอมรับนับถือในสังคม ภาคธุรกิจนิยมรับผู้ที่เคยผ่านอาชีพครูเข้าทำงาน พ่อแม่ให้ความเชื่อถือในครูมาก ผู้ที่เรียนดีนิยมเลือกอาชีพครู ครูมีอิสระในการเลือกวิธีจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน ครูส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาโท นิยมศึกษาต่อถึงระดับปริญญาเอก การศึกษาครู มีความสมดุลย์ระหว่างวิชาภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ครูมีบทบาทร่วมในการพัฒนาโรงเรียน และมีส่วนร่วมในโครงการระดับชาติและนานาชาติ
สภาพปัจจุบัน อาชีพครูได้รับการนับถือมาก แค่ครูไม่ได้มาจากผู้ที่เรียนเก่ง และการศึกษาทั่วไปอยู่ระดับปริญญาตรี
การปฏิรูป
พัฒนาระบบผลิตครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา การพัฒนาครู คณาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา แนวทาง การพัฒนาครูทั้งระบบ/ สร้างครูพันธุ์ใหม่ จะทำ 3 หมื่นคนใน 5 ปี ชดเชยอัตราเกษียณ 30% เรียนจบแล้วบรรจุได้เลย/ การปรับระบบการพัฒนาบุคลากร กระบวนการพัฒนาจะมีองค์กรที่เป็นที่ยอมรับเกิดขึ้น มีหลักสูตรหลากหลาย ได้แก่ 1.ผู้บริหารการศึกษาระดับสูง 2.กระบวนการเข้าสู่ตำแหน่งต่าง ๆ ต้องผ่านหลักสูตรอะไรบ้าง 3. หลักสูตรการเลื่อนวิทยฐานะ 4.หลักสูตรการต่อใบอนุญาตวิชาชีพ 5.หลักสูตรการพัฒนาตามนโยบาย

3.ภาวะผู้นำอย่างยั่งยืน:
ฟินแลนด์
แนวการปฏิรูปการศึกษา
แนวคิดพื้นฐานของการจัดการศึกษา คือการศึกษาเป็นบริการสาธารณะ การศึกษาเป็นฐานของความสำเร็จในตลาดโลก โรงเรียนและครูให้ความสนใจในการพัฒนาการเรียนการสอนตามความต้องการของชุมชน ตามศักยภาพของโรงเรียน โดยมีแผนพัฒนาและกลยุทธ์รองรับ ภายใต้กรอบที่รัฐกำหนด ครูสนใจพัฒนาความรู้ความสามารถของตนเอง และมีการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น
สภาพปัจจุบัน ชุมชนยังเข้ามีส่วนในการบริหารจัดการไม่มาก นโยบายการศึกษาถูกกำหนดโดยส่วนกลาง โรงเรียนมีแผนการดำเนินงานแต่ไม่ได้นำไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง
การปฏิรูป
เน้นการกระจายอำนาจสู่สถานศึกษา เขตพื้นที่ และ อปท. การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน มีระบบการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล โดย กระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้กับสถานศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษา พัฒนาระบบบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลให้มีประสิทธิภาพ ปรับระบบการบริหารจัดการการเงินและงบประมาณ โดยเน้น demand side /ในมาตรา ๘ ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้ยึดหลักสามประการในการจัดการศึกษา คือเป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง, อีกทั้งมาตรา ๙ ได้กำหนดหลักการสำคัญในการจัดระบบโครงสรัางและกระบวนการจัดการศึกษาไว้ ๖ ประการ คือ (ก) มีเอกภาพด้านนโยบายและมีความหลากหลายในการปฏิบัติ (ข) มีการกระจายอำนาจสู่เขตพื้นการศึกษา สถานศึกษา และองค์ปกครองส่วนท้องถิ่น

4.การให้การยกย่องและรางวัลสำหรับนวัตกรรม

ฟินแลนด์
แนวการปฏิรูปการศึกษา
การให้การยอมรับว่าแต่ละโรงเรียนมีแนวคิดที่มีคุณค่า และรู้หนทางที่จะทำให้ประสบความสำเร็จ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากผู้ที่ประสบความสำเร็จ มีการสร้างชุมชนการเรียนรู้ระหว่างโรงเรียน และระหว่างครู โครงการที่เรียกว่า "aquarium project" เป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาล เทศบาล และ โรงเรียน มีเป้าหมายให้โรงเรียนและครูร่วมกันพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอน โดยสร้างเครือข่ายด้านทรัพยากรบุคคล มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทดสอบปฏิบัติ
สภาพปัจจุบัน มีการแลกเปลี่ยนโดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิภูมิปัญญาท้องถิ่นร่วมสอน วิทยากรภายนอก
การปฏิรูป
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การแลกเปลี่ยน การตั้งสถาบันฝึกอบรมพัฒนาครู



5. ความรับผิดชอบที่ยืดหยุ่น เช่น เน้นที่การเรียนรู้ไม่ใช่การทดสอบ:
ฟินแลนด์
แนวการปฏิรูปการศึกษา
ครูเป็นผู้ประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน การประเมินด้วยแบบทดสอบมาตรฐานทำครั้งเดียวเมื่อจบการศึกษาภาคบังคับ มีผลดี คือเด็กนักเรียนชั้นเด็กเล็กถึงเกรด 5 ไม่ได้วัดผลเป็นเกรด จึงไม่ต้องเปรียบเทียบกับผู้อื่น ครูมีอิสระในการวางแผนหลักสูตร จัดเวลาเรียนได้เอง ครูเลือกวิธีสอนได้เอง ทำให้เด็กไม่เครียด ครูก็ไม่เครียด

สภาพปัจจุบัน ความรับผิดชอบถูกกำหนดตามนโยบายกลาง แนวทางการสอน การวัดผลมีการกำหนดเป็นแผนขั้นตอน มีการสอบวัดผลทุกปี
การปฏิรูป
ไม่มีการกล่าวถึงชัดเจนถึงความยืดหยุ่นของความรับผิดชอบ


6.วัฒนธรรมเชื่อใจ
ฟินแลนด์
แนวการปฏิรูปการศึกษา
พ่อแม่ นักเรียน องค์กรต่างๆ ไว้วางใจในครูและโรงเรียนว่าจะสามารถพัฒนาผู้เรียนได้อย่างดีที่สุด รัฐบาลบริหารประเทศด้วยหลักธรรมาภิบาล แทบจะไม่มีคอร์รัปชั่น ครูและโรงเรียนได้รับเชิญให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมพัฒนาสังคม

สภาพปัจจุบัน มีการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้งาน การได้รับวางใจแต่ละโรงเรียนยังไม่เท่ากัน มีความแตกต่างแต่ละโรงเรียน
การปฏิรูป กล่าวถึงชัดเจนในการปฏิรูปรอบ สอง เน้นการกระจายอำนาจสู่สถานศึกษา เขตพื้นที่ และ อปท. การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน มีระบบการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล โดย
1.กระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้กับสถานศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษา
2.พัฒนาระบบบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลให้มีประสิทธิภาพ
3.พัฒนาการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษา อย่างมีคุณภาพ
๔ พัฒนาระบบบริหารจัดการเพื่อสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน ภาคเอกชน และทุกภาคส่วนในการจัดการศึกษาและสนับสนุนการศึกษาและเรียนรู้ให้มากขึ้น


เอกสารอ้างอิง
— ชินภัทร ภูมิรัตน การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง(พ.ศ. 2552 – 2561) .[Online].
— ธงทอง จันทรางศุ . การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (2552-2561) .[Online].
— สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552 – 2561 ) .กรุงเทพ :พริกหวานกราฟฟิค, 2552
— สุทธศรี วงษ์สมาน(๒๕๕๓, มีนาคม ). ระบบบริหารจัดการศึกษาของไทยและกรอบแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง .[Online].
— สันทนา พูลพัฒน์ .ปฏิรูปการศึกษารอบสอง (พ.ศ. 2552-2561) .[Online].
http://www.onec.go.th/cms/ สำนักงานสภาการศึกษา
http://www.moe.go.th/ กระทรวงศึกษาธิการ
— สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กระทรวงศึกษาธิการ. สถิติ
ข้อมูลทางการศึกษา ปีการศึกษา 2550. กรุงเทพฯ, 2551.
— โครงสร้างการบริหารการศึกษาประเทศนิวซีแลนด์ สกศ., 2542

No comments: