
ทฤษฎีองค์การโครงสร้างสมัยใหม่สก๊อต (Scott, 1987) ได้จัดแบ่งทฤษฎีองค์การในยุคแรกจนถึงยุคปัจจุบันเป็น 3 สำนักคือ (1) สำนักเหตุผลนิยม(Rational Systems) (2)สำนักธรรมชาตินิยม (Natural Systems) และ(3) สำนักระบบเปิด (Open Systems) / Mintzberg เสนอ The Five Basic Parts of the Organization ประกอบ ด้วย strategic apex , middle line, operating core, technostructure และ support staff /โครงสร้างองค์การเป็นกระบวนการของการกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับตำแหน่ง อำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบ และสายใยการติดต่อสื่อสารเพื่อการบริหารงานและประสานงานอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลเพื่อบรรลุเป้าหมายองค์การ
รูปแบบโครงสร้าง
ลักษณะ
โครงสร้างแบบแมทริกซ์ (McCollem & Sherman, 1991)
เหมาะสมกับงานที่มีความซับซ้อน (Riggio, 1990)เป็นโครงสร้างที่ช่วยในการประสานกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก (Robbins, 1990) ข้อด้อย: ผู้ปฏิบัติงานจะทำงานโดยมีผู้บังคับบัญชา 2 คน ขัดกับหลักเอกภาพการบังคับบัญชาของการบริหารของพาโยล /จึงอาจนำไปสู่ความขัดแย้งทางอำนาจขึ้นได้(Laat, 1994)
โครงสร้างตามหน้าที่ (Functional Classification)
การแบ่งโครงสร้างตามอำนาจหน้าที่ขององค์การ โดยจะเน้นความชำนาญเฉพาะด้าน การแบ่งโครงสร้างตามหน้าที่จะเหมาะสมภายใต้สถานการณ์ที่คงที่/ ข้อดี คือส่งเสริมให้เกิดทักษะความชำนาญ ข้อจำกัดของโครงสร้างแบบนี้คือ การเห็นความสำคัญของวัตถุประสงค์ของหน่วยงานย่อยของตนเองมากกว่าขององค์การทั้งหมด
โครงสร้างตามผลงาน (Output Classification)
โครงสร้างจำแนกตามผลผลิตจะสนับสนุนการประสานงานข้ามสายงานภายในหน่วยผลผลิต จึงมีความยืดหยุ่นและการปรับตัวได้ดี องค์การใหญ่ๆแบ่งหน่วยงานเป็นกลุ่มผลงานหรือหน่วยธุรกิจเชิงกลยุทธ์(strategic Business Unit – SBU) /มีความคล่องตัว แต่ข้อจำกัดคือ ความซ้ำซ้อนของหน่วยงาน รวมทั้งค่าใช้จ่ายที่สูง
โครงสร้างตามพื้นที่ (Territorial Classification)
จัดกลุ่มงานตามพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ในองค์การกระจายหน่วยงานของตนให้ครอบคลุมพื้นที่ที่ต้องรับผิดชอบข้อดีคือเกิดความคล่องตัวในการจัดการตามความเหมาะสมและความต้องการของพื้นที่นั้นๆ แต่ก็มีข้อจำกัดคือความเป็นเอกภาพของนโยบายโดยรวม
โครงสร้างตามกลุ่มลูกค้า (Customer Classification)
การจัดกลุ่มงานตามกลุ่มลูกค้า เช่น สถาบันการศึกษา ซึ่งมีหลักสูตรการศึกษาของนักศึกษาของนักศึกษาภาคปกติ และหลักสูตรภาคพิเศษหรือธนาคารซึ่งมีแผนกให้เงินกู้ที่แยกตามกลุ่มธุรกิจ การจัดแบ่งโครงสร้างองค์การในลักษณะนี้ช่วยสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้ดีกว่า
โครงสร้างองค์การเสมือนจริง (Virtual Organization)
การใช้เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม(Interorganizational information systems) (O’Brien, 2000) / สังคมกับชุมชนเครือข่ายซึ่งมีการร่วมมือพึ่งพากัน/ความยืดหยุ่น (Flexibility)/ความไว้วางใจ (Turban., 1999)/การบริหารตนเอง (Self-organizing) (Fauchex, 1997) /ขอบเขตขององค์การไม่แน่ชัด(Unclear Boundary) (Turban et al., 1999)/ไม่มีสถานที่ตั้งขององค์การชัดเจน (Locationless)
2. การวิเคราะห์ /การประยุกต์ใช้องค์การในปัจจุบัน/อนาคต
หัวข้อการประยุกต์
การวิเคราะห์ /การประยุกต์ใช้องค์การในปัจจุบัน/อนาคต
การวิเคราะห์โครงสร้างขององค์การ 4 องค์ประกอบ
Specialization / ระบุงานที่เฉพาะเจาะจง และการมอบหมายงานเหล่านั้นเช่น ด้านสาขาการตลาด สาขาการบัญชี /Standardization มีแบบแผนชัดเจนตามขั้นตอน ISO/ Coordination ประกอบด้วยขั้นตอนทั้งแบบเป็นทางการ และไม่เป็นทางการ ระหว่างสาขาและคณะ/ Authority การระจายอำนาจ จากอธิการบดี ถึง หัวหน้าสาขาวิชา
การสร้างระบบการควบคุมแบบแมทริกซ์
ควบคุมให้เกิดคุณค่าความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมการบริหารกับกิจกรรมภายในองค์การเช่น กรณีงานโครงการของมหาวิทยาลัยที่ต้องทำงานประสานกันหลายหน่วยงาน
การกระจาย KPI ไปตามสายงาน
การกระจายน้ำหนักของ KPI ตามระดับ(Level) ระบบ KPI ในองค์การของคณะ แบ่งงานตามระดับต่างๆของโครงสร้างขององค์กร
โครงสร้างองค์การเสมือนจริง (Virtual Organization)
คณะบริหารธุรกิจใช้เทคโนลียีสารสนเทศ ประสานในงานโครงการต่างๆ โดยกำหนดเป็น Virtual Team มีการแจ้งความคืบหน้าของงาน ทำเอกสารบน Internet ถึงแม้อยู่ต่างสถานที่ (ปัจจุบันใช้ Google App)
โครงสร้างและระบบขององค์การที่สามารถตอบสนองการเปลี่ยนแปลงได้ด้วยตนเอง
มหาวิทยาลัยกระจายอำนาจการบริหารให้แต่ละระดับ อาทิ ระดับสาขาวิชา สามารถปรับการบริหารงาน อาทิ การสอนใหม่ๆ ตามการเปลี่ยนแปลงได้
โครงสร้างขององค์การส่งเสริมการมีส่วนร่วมและการติดต่อสื่อสารแบบไม่เป็นทางการ(Informal Communication)
ในรูปแบบคณะกรรมการวิชาการ / การประชุมคณะเพื่อการติดสินใจร่วมกัน /อาจารย์และเจ้าหน้าที่สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ในทุกระดับโดยตรง (ในระดับสายที่ใกล้เคียง ไม่ต้องผ่านโครงสร้างสายการบังคับบัญชาและไม่จำเป็นที่ต้องมีรูปแบบที่เป็นทางการ
ส่วนที่ 2 : ทฤษฎีธรรมาภิบาล
ธรรมาภิบาล หมายถึง การบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี เป็นแนวทางสำคัญในการจัดระเบียบให้สังคมรัฐภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชนซึ่งครอบคลุมถึงฝ่ายวิชาการ ฝ่ายปฏิบัติการ ฝ่ายราชการ และฝ่ายธุรกิจ สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข มีความรู้รักสามัคคีและร่วมกันเป็นพลัง ก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยึน สังคมจะรู้สึกถึงความยุติธรรม ความโปร่งใส และความมีส่วนร่วม อันเป็นคุณลักษณะสำคัญของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข
ทีมา ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการสร้างระบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคม
หลักการพื้นฐานของการสร้างธรรมาภิบาล
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการสร้างระบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ.2542 ระบุว่าธรรมาภิบาลมีองค์ประกอบ 6 ประกอบ คือ
1. หลักนิติธรรม ได้แก่ การตรากฏหมาย กฎ ข้อบังคับต่าง ๆ ให้ทันสมัยและเป็นธรรม เป็นที่ยอมรับของ
สังคม ไม่เลือกปฏิบัติ และสังคมยินยอมพร้อมใจปฏิบัติตามกฎหมายและกฎข้อบังคับเหล่านั้น
2. หลักคุณธรรม ได้แก่ การยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม สำนึกในหน้าที่ของตนเอง มีความซื่อสัตย์สุจริต จริงใจขยัน อดทน มีระเบียบวินัย และเคารพในสิทธิของผู้อื่น
3. หลักความโปร่งใส ได้แก่ การสร้างความไว้วางใจซึ่งกัน โดยมีการให้และการรับข้อมูลที่สะดวกเป็นจริง ทันการณ์ ตรงไปตรงมา มีที่มาที่ไปที่ชัดเจนและเท่าเทียม มีกระบวนการตรวจสอบความถูกต้องชัดเจนได้
4. หลักการมีส่วนร่วม ได้แก่ การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้ และร่วมคิด ร่วมเสนอความเห็นใน
การตัดสินใจปัญหาสำคัญในด้านต่าง ๆ
5. หลักความคุ้มค่า ได้แก่ การบริหารจัดการและการใช้ทรัพยากรที่มีจำกัด ให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม
6. หลักความรับผิดชอบตรวจสอบได้ ได้แก่ ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้เป็นการสร้างกลไกให้มีผู้รับผิดชอบตระหนักในหน้าที่ และความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม
ประเด็นที่ 3 : เกณฑ์การประเมินธรรมาภิบาลในองค์กร
ส่วนที่ 2 : การนำมาใช้งานด้านการศึกษา
ตารางที่ 1 องค์ประกอบของธรรมาภิบาลและการนำมาใช้งาน
หลักนิติธรรม
มหาวิทยาลัยเป็นหน่วยงานเอกชน มีการประกาศ กฎระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศของมหาวิทยาลัยมีผลต่อพนักงานทุกคน และสอดคล้องกับสถานการณ์ การปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติการศึกษาเอกชน และประกาศอื่นๆ จากคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย
ด้านคุณธรรม
จรรยาบรรณ /จริยธรรมและจรรยาบรรณครู/ผู้บริหารมหาวิทยาลัยได้นำหลักคุณธรรม เข้ามาบริหารหน่วยงาน โดยมีความเอาใจใส่รักษาผลประโยชน์ให้นักศึกษาและอาจารย์
ด้านความโปร่งใส
โดยมีนโยบายในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร อาทิ ระเบียบขั้นตอน การขอดูคะแนนสอบ ผลสอบ ผลการประเมินการทำงาน เป็นต้น การบริหารจัดการเพื่อความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ซึ่งนโยบายของอธิการบดีได้กำหนดชัดเจนในเรื่องส่งเสริมการมีส่วนร่วม รวมทั้งมีการเผยแพร่ทางเว็บไซต์/บุคคลากรทราบถึงขั้นตอนการทำงานที่จะต้องติดต่อกับหน่วยงานและประสานงานกับหน่วยงานต่างๆและบุคคลภายนอกสามารถเข้าถึงข้อมูลได้
ด้านการมีส่วนร่วม
บุคลากรมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย อาทิ คณะกรรมการวิชาการ คณะกรรมการบริหาร/ ผู้ประกอบหรือผู้แทนเอกชนตามสายอาชีพในการประเมินหลักสูตร ประเมินนักศึกษา / การดำเนินการกิจกรรมของนักศึกษา ที่มีชุมชนร่วมดำเนินการ /
/การทำแผนกลยุทธ์การรับฟังความคิดเห็นของผู้ร่วมงาน
ด้านความคุ้มค่า
มหาวิทยาลัยมีการบริหารจัดการด้านความคุ้มค่าโดยผู้บริหารมหาวิทยาลัยมีนโยบายให้บุคลากรใช้ทรัพยากรร่วมกัน อาทิ การใช้ทรัพยากรอาคารสถานที่ อุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ และ
คู่มือ ป ร ะ กัน คุณ ภ า พ ( ส ม ศ ) กำ ห น ด ใ ห้สถาบันอุดมศึกษาดำเนินการในองค์ประกอบที่ 8.2 มีการใช้ทรัพยากรภายในและภายนอกสถาบันร่วมกัน ซึ่งหลักความคุ้มค่า (Cost-effectiveness or Economy) /รณรงค์ให้บุคลากรมีความประหยัด ใช้วัสดุอุปกรณ์อย่างคุ้มค่า และรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้สมบูรณ์ยั่งยืน/ลดขั้นตอนที่ซับซ้อนปรับปรุงจำนวนบุคลากรให้เหมาะสมกับงานและองค์กรและให้ผู้ปฏิบัติได้เรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆที่เกิดขึ้นมากมาย ซึ่งจำเป็นต้องมีการเรียนรู้เพิ่มขึ้นเพื่อปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
หลักความรับผิดชอบตรวจสอบได้
มหาวิทยาลัยมีการบริหารจัดการความรับผิดชอบ จากภาระหน้าที่ บุคลากรมหาวิทยาลัยทำหน้าที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนการให้บริการนักศึกษา และบุคคลทั่วไป การปฏิบัติหน้าที่ในงานที่ได้รับมอบหมายเป็นอย่างดี/มีการกำหนดความรับผิดชอบที่ชัดเจนมีการประเมินผลการปฎิบัติงานขององค์กรเป็นกระบวนการ(ระบบ ISO) ว่าจะบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรหรือไม่ /การนำผลการประเมินมาปรับปรุงแก้ไขมาพัฒนาเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจขององค์กร การประเมินและการตรวจสอบการทำงาน ให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้ปฎิบัติงานเกี่ยวกับการปฎิบัติงานอย่างเปิดเผย ทำให้ผู้ปฎิบัติทราบว่าจะต้องถูกประเมินในเรื่องใด เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงงานให้มีคุณภาพแลประสิทธิผล
ส่วนที่ 3 การบูรณาการ ในทางการศึกษาของคณะวิชา
1 ) . ความหมาย
“การวิจัยบูรณาการ” หมายความว่า การเชื่อมโยงความรู้ การแสวงหาความรู้ การศึกษาค้นคว้ากับการใช้ทรัพยากรอันมีจำกัด เพื่อก่อให้เกิดพลังสูงสุดในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ(ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช,2547)
การบริหารงานแบบบูรณาการ คือ การร่วมมือกันในระหว่างส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีการปฏิบัติงานร่วมกันหรือมีแผนการดำ เนินงานที่สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งจะ ทำให้ภารกิจที่สำคัญของรัฐในแต่ละด้านเกิดผลสำเร็จเป็นประโยชน์แก่ประชาชนส่วนรวม และ มีความประหยัดโดยใช้ทรัพยากรร่วมกันให้เกิดประโยชน์สูงสุดรวมทั้งสามารถลดขั้นตอนการปฏิบัติราชการให้เกิดความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพจากการร่วมมือปฏิบัติงานของทุกฝ่ายที่ (ที่มา สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ( ก.พ.ร.))
2, สรุปการบูรณการทางการศึกษา
การบูรณาการเป็นการร่วมกันทำงานจากผู้ที่มีความรู้ ความสามารถหลายด้าน ร่วมแสดงความคิด ขั้นตอนการปฏิบัติร่วมกัน(Participation)ในลักษณะการช่วยกันทำหลายเรื่องๆ ให้เป็นเรื่องเดียวกัน และรวมผลสำเร็จย่อยๆ กลายเป็นผลความสำเร็จที่มากขึ้น และนำไปสู่จุดหมายเดียวกันที่ก่อให้เกิดประโยชน์ที่มากกว่าการทำงานแบบเดิม และสำหรับแนวคิดการบูรณการในด้านการศึกษา (Education Management Integrated) เกิดจากกระบวนการจัดการเรียนการรู้โดยหลอมรวม ทั้งด้านวิชาการสาระของศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง จากผู้เกี่ยวข้องหลากหลายไม่เฉพาะผู้สอนทำให้ผู้เรียนเกิดผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ ทักษะการปฏิบัติ และเจตคติ ของความเป็นผู้เรียนที่สมบูรณ์
การประยุกต์แนวคิดเชิงบูรณาการในคณะวิชา
งานวิจัย
การทำวิจัยที่ทำชุดโครงการวิจัย (Research Program) ดำเนินการบูรณาการโดยการเชื่อมโยงแผนงานวิจัยย่อย (Research Sub-program) ในด้านต่างๆ
เพิ่มมูลค่างานวิจัย/ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย
การบริการวิชาการชุมชุน
ตัวอย่าง การร่วมบริการชุมชนแก่กลุ่มแม่บ้านโอทอปตำบล ของสาขาวิชาการตลาดรับผิดชอบเรื่องการทำการตลาด คอมพิวเตอร์บริการเรื่องการทำเว็บไซต์ สาขาการบัญชี บริการเรื่องการทำบัญชี และการเงิน เป็นต้น
บูรณาการความรู้ทุกๆสาขา/ประหยัดเวลา
กิจการพัฒนานักศึกษา
คณะวิชาจัดกิจกรรมบริการสังคม ร่วมกับศูนย์ศิลปวัฒนธรรมของสถาบัน โดยร่วมกันพัฒนารูปกิจกรรมพัฒนานักศึกษา ทำให้นักศึกษาได้รับการพัฒนาทั้งการบริการสังคม และคุณธรรมจริยธรรม
นักศึกษาได้พัฒนาหลายๆด้านพร้อมกัน
ระบบฐานข้อมูลวิชาการ
การพัฒนาระบบการบริหารจัดการฐานข้อมูลวิชาการ งานข้อมูลวิจัย ระบบการเรียนการสอน นอกจากการใช้เพื่อการเรียนการสอน ยังสามารถนำฐานข้อมูล (database)ให้เป็นฐานบริการวิชาการแก่ชุมชนท้องถิ่นได้
เพิ่มมูลค่าการใช้ประโยชน์ฐานข้อมูล/ใช้ทรัพยากรร่วมกัน
การทำ Linked Course
นำวิชามาบูรณาการกันจัดกิจกรรมผสานร่วมกัน เช่นวิชาการโปรแกรมพัฒนาเว็บไซต์ ของสาขา คอมพิวเตอร์ ร่วมกับวิชา หลักการตลาดออนไลน์ ของสาขาการตลาด
นักศึกษาได้ประโยชน์มากขึ้น/ใช้ทรัพยากรร่วมกัน
รูปแบบโครงสร้าง
ลักษณะ
โครงสร้างแบบแมทริกซ์ (McCollem & Sherman, 1991)
เหมาะสมกับงานที่มีความซับซ้อน (Riggio, 1990)เป็นโครงสร้างที่ช่วยในการประสานกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก (Robbins, 1990) ข้อด้อย: ผู้ปฏิบัติงานจะทำงานโดยมีผู้บังคับบัญชา 2 คน ขัดกับหลักเอกภาพการบังคับบัญชาของการบริหารของพาโยล /จึงอาจนำไปสู่ความขัดแย้งทางอำนาจขึ้นได้(Laat, 1994)
โครงสร้างตามหน้าที่ (Functional Classification)
การแบ่งโครงสร้างตามอำนาจหน้าที่ขององค์การ โดยจะเน้นความชำนาญเฉพาะด้าน การแบ่งโครงสร้างตามหน้าที่จะเหมาะสมภายใต้สถานการณ์ที่คงที่/ ข้อดี คือส่งเสริมให้เกิดทักษะความชำนาญ ข้อจำกัดของโครงสร้างแบบนี้คือ การเห็นความสำคัญของวัตถุประสงค์ของหน่วยงานย่อยของตนเองมากกว่าขององค์การทั้งหมด
โครงสร้างตามผลงาน (Output Classification)
โครงสร้างจำแนกตามผลผลิตจะสนับสนุนการประสานงานข้ามสายงานภายในหน่วยผลผลิต จึงมีความยืดหยุ่นและการปรับตัวได้ดี องค์การใหญ่ๆแบ่งหน่วยงานเป็นกลุ่มผลงานหรือหน่วยธุรกิจเชิงกลยุทธ์(strategic Business Unit – SBU) /มีความคล่องตัว แต่ข้อจำกัดคือ ความซ้ำซ้อนของหน่วยงาน รวมทั้งค่าใช้จ่ายที่สูง
โครงสร้างตามพื้นที่ (Territorial Classification)
จัดกลุ่มงานตามพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ในองค์การกระจายหน่วยงานของตนให้ครอบคลุมพื้นที่ที่ต้องรับผิดชอบข้อดีคือเกิดความคล่องตัวในการจัดการตามความเหมาะสมและความต้องการของพื้นที่นั้นๆ แต่ก็มีข้อจำกัดคือความเป็นเอกภาพของนโยบายโดยรวม
โครงสร้างตามกลุ่มลูกค้า (Customer Classification)
การจัดกลุ่มงานตามกลุ่มลูกค้า เช่น สถาบันการศึกษา ซึ่งมีหลักสูตรการศึกษาของนักศึกษาของนักศึกษาภาคปกติ และหลักสูตรภาคพิเศษหรือธนาคารซึ่งมีแผนกให้เงินกู้ที่แยกตามกลุ่มธุรกิจ การจัดแบ่งโครงสร้างองค์การในลักษณะนี้ช่วยสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้ดีกว่า
โครงสร้างองค์การเสมือนจริง (Virtual Organization)
การใช้เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม(Interorganizational information systems) (O’Brien, 2000) / สังคมกับชุมชนเครือข่ายซึ่งมีการร่วมมือพึ่งพากัน/ความยืดหยุ่น (Flexibility)/ความไว้วางใจ (Turban., 1999)/การบริหารตนเอง (Self-organizing) (Fauchex, 1997) /ขอบเขตขององค์การไม่แน่ชัด(Unclear Boundary) (Turban et al., 1999)/ไม่มีสถานที่ตั้งขององค์การชัดเจน (Locationless)
2. การวิเคราะห์ /การประยุกต์ใช้องค์การในปัจจุบัน/อนาคต
หัวข้อการประยุกต์
การวิเคราะห์ /การประยุกต์ใช้องค์การในปัจจุบัน/อนาคต
การวิเคราะห์โครงสร้างขององค์การ 4 องค์ประกอบ
Specialization / ระบุงานที่เฉพาะเจาะจง และการมอบหมายงานเหล่านั้นเช่น ด้านสาขาการตลาด สาขาการบัญชี /Standardization มีแบบแผนชัดเจนตามขั้นตอน ISO/ Coordination ประกอบด้วยขั้นตอนทั้งแบบเป็นทางการ และไม่เป็นทางการ ระหว่างสาขาและคณะ/ Authority การระจายอำนาจ จากอธิการบดี ถึง หัวหน้าสาขาวิชา
การสร้างระบบการควบคุมแบบแมทริกซ์
ควบคุมให้เกิดคุณค่าความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมการบริหารกับกิจกรรมภายในองค์การเช่น กรณีงานโครงการของมหาวิทยาลัยที่ต้องทำงานประสานกันหลายหน่วยงาน
การกระจาย KPI ไปตามสายงาน
การกระจายน้ำหนักของ KPI ตามระดับ(Level) ระบบ KPI ในองค์การของคณะ แบ่งงานตามระดับต่างๆของโครงสร้างขององค์กร
โครงสร้างองค์การเสมือนจริง (Virtual Organization)
คณะบริหารธุรกิจใช้เทคโนลียีสารสนเทศ ประสานในงานโครงการต่างๆ โดยกำหนดเป็น Virtual Team มีการแจ้งความคืบหน้าของงาน ทำเอกสารบน Internet ถึงแม้อยู่ต่างสถานที่ (ปัจจุบันใช้ Google App)
โครงสร้างและระบบขององค์การที่สามารถตอบสนองการเปลี่ยนแปลงได้ด้วยตนเอง
มหาวิทยาลัยกระจายอำนาจการบริหารให้แต่ละระดับ อาทิ ระดับสาขาวิชา สามารถปรับการบริหารงาน อาทิ การสอนใหม่ๆ ตามการเปลี่ยนแปลงได้
โครงสร้างขององค์การส่งเสริมการมีส่วนร่วมและการติดต่อสื่อสารแบบไม่เป็นทางการ(Informal Communication)
ในรูปแบบคณะกรรมการวิชาการ / การประชุมคณะเพื่อการติดสินใจร่วมกัน /อาจารย์และเจ้าหน้าที่สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ในทุกระดับโดยตรง (ในระดับสายที่ใกล้เคียง ไม่ต้องผ่านโครงสร้างสายการบังคับบัญชาและไม่จำเป็นที่ต้องมีรูปแบบที่เป็นทางการ
ส่วนที่ 2 : ทฤษฎีธรรมาภิบาล
ธรรมาภิบาล หมายถึง การบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี เป็นแนวทางสำคัญในการจัดระเบียบให้สังคมรัฐภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชนซึ่งครอบคลุมถึงฝ่ายวิชาการ ฝ่ายปฏิบัติการ ฝ่ายราชการ และฝ่ายธุรกิจ สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข มีความรู้รักสามัคคีและร่วมกันเป็นพลัง ก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยึน สังคมจะรู้สึกถึงความยุติธรรม ความโปร่งใส และความมีส่วนร่วม อันเป็นคุณลักษณะสำคัญของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข
ทีมา ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการสร้างระบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคม
หลักการพื้นฐานของการสร้างธรรมาภิบาล
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการสร้างระบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ.2542 ระบุว่าธรรมาภิบาลมีองค์ประกอบ 6 ประกอบ คือ
1. หลักนิติธรรม ได้แก่ การตรากฏหมาย กฎ ข้อบังคับต่าง ๆ ให้ทันสมัยและเป็นธรรม เป็นที่ยอมรับของ
สังคม ไม่เลือกปฏิบัติ และสังคมยินยอมพร้อมใจปฏิบัติตามกฎหมายและกฎข้อบังคับเหล่านั้น
2. หลักคุณธรรม ได้แก่ การยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม สำนึกในหน้าที่ของตนเอง มีความซื่อสัตย์สุจริต จริงใจขยัน อดทน มีระเบียบวินัย และเคารพในสิทธิของผู้อื่น
3. หลักความโปร่งใส ได้แก่ การสร้างความไว้วางใจซึ่งกัน โดยมีการให้และการรับข้อมูลที่สะดวกเป็นจริง ทันการณ์ ตรงไปตรงมา มีที่มาที่ไปที่ชัดเจนและเท่าเทียม มีกระบวนการตรวจสอบความถูกต้องชัดเจนได้
4. หลักการมีส่วนร่วม ได้แก่ การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้ และร่วมคิด ร่วมเสนอความเห็นใน
การตัดสินใจปัญหาสำคัญในด้านต่าง ๆ
5. หลักความคุ้มค่า ได้แก่ การบริหารจัดการและการใช้ทรัพยากรที่มีจำกัด ให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม
6. หลักความรับผิดชอบตรวจสอบได้ ได้แก่ ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้เป็นการสร้างกลไกให้มีผู้รับผิดชอบตระหนักในหน้าที่ และความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม
ประเด็นที่ 3 : เกณฑ์การประเมินธรรมาภิบาลในองค์กร
ส่วนที่ 2 : การนำมาใช้งานด้านการศึกษา
ตารางที่ 1 องค์ประกอบของธรรมาภิบาลและการนำมาใช้งาน
หลักนิติธรรม
มหาวิทยาลัยเป็นหน่วยงานเอกชน มีการประกาศ กฎระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศของมหาวิทยาลัยมีผลต่อพนักงานทุกคน และสอดคล้องกับสถานการณ์ การปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติการศึกษาเอกชน และประกาศอื่นๆ จากคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย
ด้านคุณธรรม
จรรยาบรรณ /จริยธรรมและจรรยาบรรณครู/ผู้บริหารมหาวิทยาลัยได้นำหลักคุณธรรม เข้ามาบริหารหน่วยงาน โดยมีความเอาใจใส่รักษาผลประโยชน์ให้นักศึกษาและอาจารย์
ด้านความโปร่งใส
โดยมีนโยบายในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร อาทิ ระเบียบขั้นตอน การขอดูคะแนนสอบ ผลสอบ ผลการประเมินการทำงาน เป็นต้น การบริหารจัดการเพื่อความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ซึ่งนโยบายของอธิการบดีได้กำหนดชัดเจนในเรื่องส่งเสริมการมีส่วนร่วม รวมทั้งมีการเผยแพร่ทางเว็บไซต์/บุคคลากรทราบถึงขั้นตอนการทำงานที่จะต้องติดต่อกับหน่วยงานและประสานงานกับหน่วยงานต่างๆและบุคคลภายนอกสามารถเข้าถึงข้อมูลได้
ด้านการมีส่วนร่วม
บุคลากรมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย อาทิ คณะกรรมการวิชาการ คณะกรรมการบริหาร/ ผู้ประกอบหรือผู้แทนเอกชนตามสายอาชีพในการประเมินหลักสูตร ประเมินนักศึกษา / การดำเนินการกิจกรรมของนักศึกษา ที่มีชุมชนร่วมดำเนินการ /
/การทำแผนกลยุทธ์การรับฟังความคิดเห็นของผู้ร่วมงาน
ด้านความคุ้มค่า
มหาวิทยาลัยมีการบริหารจัดการด้านความคุ้มค่าโดยผู้บริหารมหาวิทยาลัยมีนโยบายให้บุคลากรใช้ทรัพยากรร่วมกัน อาทิ การใช้ทรัพยากรอาคารสถานที่ อุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ และ
คู่มือ ป ร ะ กัน คุณ ภ า พ ( ส ม ศ ) กำ ห น ด ใ ห้สถาบันอุดมศึกษาดำเนินการในองค์ประกอบที่ 8.2 มีการใช้ทรัพยากรภายในและภายนอกสถาบันร่วมกัน ซึ่งหลักความคุ้มค่า (Cost-effectiveness or Economy) /รณรงค์ให้บุคลากรมีความประหยัด ใช้วัสดุอุปกรณ์อย่างคุ้มค่า และรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้สมบูรณ์ยั่งยืน/ลดขั้นตอนที่ซับซ้อนปรับปรุงจำนวนบุคลากรให้เหมาะสมกับงานและองค์กรและให้ผู้ปฏิบัติได้เรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆที่เกิดขึ้นมากมาย ซึ่งจำเป็นต้องมีการเรียนรู้เพิ่มขึ้นเพื่อปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
หลักความรับผิดชอบตรวจสอบได้
มหาวิทยาลัยมีการบริหารจัดการความรับผิดชอบ จากภาระหน้าที่ บุคลากรมหาวิทยาลัยทำหน้าที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนการให้บริการนักศึกษา และบุคคลทั่วไป การปฏิบัติหน้าที่ในงานที่ได้รับมอบหมายเป็นอย่างดี/มีการกำหนดความรับผิดชอบที่ชัดเจนมีการประเมินผลการปฎิบัติงานขององค์กรเป็นกระบวนการ(ระบบ ISO) ว่าจะบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรหรือไม่ /การนำผลการประเมินมาปรับปรุงแก้ไขมาพัฒนาเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจขององค์กร การประเมินและการตรวจสอบการทำงาน ให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้ปฎิบัติงานเกี่ยวกับการปฎิบัติงานอย่างเปิดเผย ทำให้ผู้ปฎิบัติทราบว่าจะต้องถูกประเมินในเรื่องใด เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงงานให้มีคุณภาพแลประสิทธิผล
ส่วนที่ 3 การบูรณาการ ในทางการศึกษาของคณะวิชา
1 ) . ความหมาย
“การวิจัยบูรณาการ” หมายความว่า การเชื่อมโยงความรู้ การแสวงหาความรู้ การศึกษาค้นคว้ากับการใช้ทรัพยากรอันมีจำกัด เพื่อก่อให้เกิดพลังสูงสุดในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ(ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช,2547)
การบริหารงานแบบบูรณาการ คือ การร่วมมือกันในระหว่างส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีการปฏิบัติงานร่วมกันหรือมีแผนการดำ เนินงานที่สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งจะ ทำให้ภารกิจที่สำคัญของรัฐในแต่ละด้านเกิดผลสำเร็จเป็นประโยชน์แก่ประชาชนส่วนรวม และ มีความประหยัดโดยใช้ทรัพยากรร่วมกันให้เกิดประโยชน์สูงสุดรวมทั้งสามารถลดขั้นตอนการปฏิบัติราชการให้เกิดความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพจากการร่วมมือปฏิบัติงานของทุกฝ่ายที่ (ที่มา สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ( ก.พ.ร.))
2, สรุปการบูรณการทางการศึกษา
การบูรณาการเป็นการร่วมกันทำงานจากผู้ที่มีความรู้ ความสามารถหลายด้าน ร่วมแสดงความคิด ขั้นตอนการปฏิบัติร่วมกัน(Participation)ในลักษณะการช่วยกันทำหลายเรื่องๆ ให้เป็นเรื่องเดียวกัน และรวมผลสำเร็จย่อยๆ กลายเป็นผลความสำเร็จที่มากขึ้น และนำไปสู่จุดหมายเดียวกันที่ก่อให้เกิดประโยชน์ที่มากกว่าการทำงานแบบเดิม และสำหรับแนวคิดการบูรณการในด้านการศึกษา (Education Management Integrated) เกิดจากกระบวนการจัดการเรียนการรู้โดยหลอมรวม ทั้งด้านวิชาการสาระของศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง จากผู้เกี่ยวข้องหลากหลายไม่เฉพาะผู้สอนทำให้ผู้เรียนเกิดผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ ทักษะการปฏิบัติ และเจตคติ ของความเป็นผู้เรียนที่สมบูรณ์
การประยุกต์แนวคิดเชิงบูรณาการในคณะวิชา
งานวิจัย
การทำวิจัยที่ทำชุดโครงการวิจัย (Research Program) ดำเนินการบูรณาการโดยการเชื่อมโยงแผนงานวิจัยย่อย (Research Sub-program) ในด้านต่างๆ
เพิ่มมูลค่างานวิจัย/ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย
การบริการวิชาการชุมชุน
ตัวอย่าง การร่วมบริการชุมชนแก่กลุ่มแม่บ้านโอทอปตำบล ของสาขาวิชาการตลาดรับผิดชอบเรื่องการทำการตลาด คอมพิวเตอร์บริการเรื่องการทำเว็บไซต์ สาขาการบัญชี บริการเรื่องการทำบัญชี และการเงิน เป็นต้น
บูรณาการความรู้ทุกๆสาขา/ประหยัดเวลา
กิจการพัฒนานักศึกษา
คณะวิชาจัดกิจกรรมบริการสังคม ร่วมกับศูนย์ศิลปวัฒนธรรมของสถาบัน โดยร่วมกันพัฒนารูปกิจกรรมพัฒนานักศึกษา ทำให้นักศึกษาได้รับการพัฒนาทั้งการบริการสังคม และคุณธรรมจริยธรรม
นักศึกษาได้พัฒนาหลายๆด้านพร้อมกัน
ระบบฐานข้อมูลวิชาการ
การพัฒนาระบบการบริหารจัดการฐานข้อมูลวิชาการ งานข้อมูลวิจัย ระบบการเรียนการสอน นอกจากการใช้เพื่อการเรียนการสอน ยังสามารถนำฐานข้อมูล (database)ให้เป็นฐานบริการวิชาการแก่ชุมชนท้องถิ่นได้
เพิ่มมูลค่าการใช้ประโยชน์ฐานข้อมูล/ใช้ทรัพยากรร่วมกัน
การทำ Linked Course
นำวิชามาบูรณาการกันจัดกิจกรรมผสานร่วมกัน เช่นวิชาการโปรแกรมพัฒนาเว็บไซต์ ของสาขา คอมพิวเตอร์ ร่วมกับวิชา หลักการตลาดออนไลน์ ของสาขาการตลาด
นักศึกษาได้ประโยชน์มากขึ้น/ใช้ทรัพยากรร่วมกัน
No comments:
Post a Comment