Friday, December 16, 2011

ภาวะผู้นำเปลี่ยนสภาพ : คุณลักษณะและผลการเปลี่ยนแปลง


จากการสังเคราะห์งานวิจัย 10 เรื่องที่นำเสนอในกลุ่มนี้ พบว่าทั้ง 10 เรื่อง พบว่า คุณลักษณะของภาวะผู้นำการเปลี่ยนสภาพ (สมคิด สกุลสถาปัตย์ ,2552) ที่มีประสิทธิภาพต่อการปฏิรูปการศึกษา แบบยั่งยืนมีความสัมพันธ์เชิงสาเหตุกับตัวแปร ซึ่งประกอบด้วย การสร้างสื่อกลางที่มีศักยภาพ การใช้ความฉลาดทางอารมณ์เป็นฐาน การสร้างแรงบันดาลใจ ความเป็นปัจเจกบุคคล การกระตุ้นการใช้ปัญญา การใช้ความฉลาดทางอารมณ์เป็นฐาน ซึ่งส่งผลต่อการขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง ในการเรียนการสอน ที่เน้นผู้เรียน และผลการเรียนรู้ที่มีประสิทธิผล นอกจากนี้คุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารในสถานศึกษาที่มีคุณภาพ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(ประคอง รัศมีแก้ว,2551) จะประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ 1.)ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหาร ความสามารถในการติดต่อสัมพันธ์ การครองใจ การสร้างความผูกพันกับผู้อื่น ใจกว้าง 2.) การครองตนของผู้บริหาร -3.) ความสามารถในการปฏิบัติงานของผู้บริหาร 4.)บุคลิกภาพของผู้บริหาร ผู้บริหารเป็นผู้ที่มีความสำคัญที่จะขับเคลื่อนในการบริหารจัดการสถานศึกษาอย่างมีคุณภาพ ผู้บริหารมีส่วนรับผิดชอบอย่างใกล้ชิดต่อการศึกษา ที่จะทำให้การศึกษาเกิดผลอย่างมีประสิทธิภาพสูง ในด้านการเรียนสอนในชั้นเรียน (San Bolkan, Alan K. Goodboy,,2009) การใช้ภาวะผู้นำเปลี่ยนสภาพของครู ส่งผลต่อ การเรียนรู้ การมีส่วนร่วมของนักศึกษา และความน่าเชื่อถือของครู ให้สูงขึ้น และการใช้ภาวะผู้นำเปลี่ยนสภาพของครูในการเรียน ทั้งการสอนรายบุคคล การพบปะพูดคุยกับครูได้ง่าย ให้กำลังใจ การจัดคอร์สที่สัมพันธ์กับกิจกรรมที่นักศึกษาสนใจ จะส่งผลต่อเกิดการเรียนรู้ การมีส่วนร่วมของนักศึกษา และความน่าเชื่อถือของครู เนื่องจากนักศึกษาเห็นว่าการศึกษาเหล่านี้เป็นตรงกับความต้องการของตนเอง ส่งผลต่อความกระตือรือร้นในการทำงานต่องานที่มอบหมาย กระตุ้นการเกิดความคิดใหม่ ๆ ภาวะผู้นำเปลี่ยนสภาพของครู ก่อให้บรรยากาศ การเรียนรู้ การมีส่วนร่วมมากขึ้น มากกว่าการเรียนการสอนแบบปกติ ด้านการใช้ภาวะผู้นำเปลี่ยนสภาพ (อุษณี มงคลพิทักษ์สุข ,2551)ของผู้นำชุมชน นายกองค์การบริหารส่วนตำบล การเป็นผู้นำที่มีภาวะผู้นำเปลี่ยนสภาพมี ความสัมพันธ์เชิงบวกกับภาวะผู้นำแลกเปลี่ยน แต่มีความสัมพันธ์ระดับค่อนข้างต่ำและมีทิศทางเชิงลบกับภาวะผู้นำไร้การนำ มิติภาวะผู้นำ ภาวะผู้นำเปลี่ยนสภาพกับความพึงพอใจในงานของเพื่อนร่วมงาน ภาวะผู้นำเปลี่ยนสภาพส่งผลต่อการทำนายความพึงพอใจในงานกลุ่มผู้บริหาร มากกว่านายกองค์การบริหารส่วนตำบล . ที่แสดงพฤติกรรมภาวะผู้นำแลกเปลี่ยน และภาวะผู้นำเปลี่ยนสภาพมีขนาดค่าความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการทำงานสูงกว่าภาวะผู้นำแลกเปลี่ยน ในองค์การภาคเอกชน( Venkat R. Krishnan and Pooja Arora,2008) จากการเก็บข้อมูลรวบรวมข้อมูลจากผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชาในองค์การต่างๆ พบว่าภาวะผู้นำการเปลี่ยนสภาพสามารถจูงใจและสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ตามให้สามารถทำงานได้มากกว่า คำว่าหน้าที่ และพนักงานเต็มใจเพิ่มความพยายามในการทำงานเป็นพิเศษมากขึ้นรวมทั้งช่วยเหลือผู้ร่วมงานและร่วมในกิจกรรมต่างๆอันเป็นประโยชน์ต่อองค์กรอื่นๆ ซึ่งเกิดจากความไว้วางใจและความพึงพอใจของผู้ใต้บังคับบัญชา สิ่งเหล่านี้จะเป็นสื่อนำผลกระทบของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงต่องค์การ คุณภาพของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงจะช่วยผู้จัดการสร้างแรงจูงใจและแรงบันดาลใจให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา การใช้ภาวะผู้นำที่เพิ่มประสิทธิผลขององค์กร อาทิ การช่วยเหลือผู้ร่วมงาน หัวหน้างาน และองค์กร การช่วยเหลือผู้เข้ามาทำงานใหม่ การช่วยเหลือผู้ร่วมงาน และหลีกเลี่ยงการจับผิดที่บ่อยครั้งเกินไป ดังนั้นเพื่อให้มีพนักงานที่มุ่งมั่นนั้นองค์กรจำเป็นต้องมีผู้จัดการทีมงานซึ่งมีลักษณะเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงโดยสิ่งนี้จะช่วยผู้จัดการเหล่านั้นสามารถจูงใจผู้ใต้บังคับบัญชาในการทำงาน ผู้นำที่มีทักษะการทำงานและความมั่นคงทางอารมณ์สูงจะมีอิทธิพลต่อผู้ใต้บังคับบัญชาในด้านบวก (Charles R. Emery, Katherine J. Barker,2007 ) การเปรียบเทียบ ภาวะผู้นำเปลี่ยนสภาพ และภาวะผู้นำแลกเปลี่ยนต่อ ความผูกพันต่อองค์การและความพึงพอใจในงานของบุคลากร ที่ติดต่อกับลูกค้า ผลของภาวะผู้นำเปลี่ยนสภานภาพ มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การและความพึงพอใจในงานของบุคลากร มากกว่าภาวะผู้นำแลกเปลี่ยน และสำหรับองค์การที่พร้อมเปลี่ยนแปลง และปรับเปลี่ยนใหม่ๆ พนักงานจะเปิดรับภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพมากกว่า การใช้ภาวะผู้นำเปลี่ยนสภาพ (Belal A. Kaifi1 , Bahaudin G. Mujtaba,2010) เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงขององค์กรเนื่องจากเทคโนโลยีโลกาภิวัตน์และการแข่งขันสูง ในระหว่างการเปลี่ยนแปลงขององค์การ การใช้ภาวะผู้นำการเปลี่ยนสภาพ จะประสบความสำเร็จในการดำเนินการ กับการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีใหม่ ซึ่งองค์การต้องการมองหาผู้นำที่เป็นนักสื่อสารที่ดี นักคิดที่มีวิสัยทัศน์ เข้าใจวัฒนธรรมขององค์กร ใช้กลยุทธ์ใหม่และเปลี่ยนองค์การเพื่อให้สามารถแข่งขันในเศรษฐกิจโลกวันนี้ได้
(Anis,2010)ภาวะผู้นำการเปลี่ยนสภาพมีความเชื่อมโยงกับภาวะผู้นำแบบความสามารถพิเศษหรือภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ภาวะผู้นำการเปลี่ยนสภาพจะสร้างแรงบันดาลใจและจูงใจในลักษณะให้ผู้ตามปฏิบัติมากเกินกว่าความต้องการในการแลกเปลี่ยนหรือรางวัลใดๆ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนสภาพสามารถใช้ได้ดีโดยเฉพาะในความสัมพันธ์เชิงควบคุมที่ใกล้ชิด ภาวะผู้นำการเปลี่ยนสภาพสามารถเพิ่มแรงจูงใจภายในของผู้ตามได้โดยผ่านทางการแสดงให้เห็นถึงคุณค่าและความสำคัญของเป้าหมายของผู้นำ

เอกสารอ้างอิง

สมคิด สกุลสภาปัตย์.(2552).รุปแบบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิผลในการปฏิรูปการศึกษาแบบยั่งยืน.ดุษฏีนิพนธ์ศึกษาศาสตร์ดุษฏีบัณฑิต,สาขาวิชาการบริหารการศึกษา,คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปีลัญ ปฏิพิมพาคม.(2550).รูปแบบภาวะผู้นำและประสิทธิผล ของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฏีนิพนธ์ศึกษาศาสตร์ดุษฏีบัณฑิต,สาขาวิชาการบริหารการศึกษา,คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ประคอง รัศมีแก้ว.(2551). คุณลักษณะ ผู้นำของผู้บริหารในสถานศึกษาที่มีคุณภาพ. ดุษฏีนิพนธ์ศึกษาศาสตร์ดุษฏีบัณฑิต,สาขาวิชาการบริหารการศึกษา,คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ทวีวรรณ อินดา.(2552).การพัฒนารูปแบบทีมีประสิทธิภาพของการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ.ดุษฏีนิพนธ์ศึกษาศาสตร์ดุษฏีบัณฑิต,สาขาวิชาการบริหารการศึกษา,คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อุษณี มงคลพิทักษ์สุข.(2551).ภาวะผู้นำเปลี่ยนสภาพของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลกับประสิทธิผลขององค์การ ,มหาวิทยาลัยบูรพา ดุษฏีนิพนธ์ ,2551


Anis Eliyana.(2010). Impacts of transactional and transformational leaderships uponorganizational citizenship behavior. Journal of US-China Public Administration.

Larry McNeal and Memphis.(2010).The Relationship between Leadership effectiveness Organization Culture and Program Focus.

Venkat R. Krishnan and Pooja Arora.(2008). Determinants of Transformational Leadership and Organizational Citizenship Behavior, Asia-Pacific Business Review Volume IV, Number 1, January - March 2008 pp. 34-43. ISSN: 0973-2470

Charles R. Emery, Katherine J. Barker.(2007). The effect of transactional and transformational leadership styles on the organizational commitment and job satisfaction of customer contact personnel. Journal of Organizational Culture, Communications and Conflict

Belal A. Kaifi, Bahaudin G Mujtaba .(2010). Transformational Leadership of Afghans and Americans: A Study of Culture, Age and Gender. Journal of Service Science and Management.

No comments: