
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ในสังคมแห่งการแบ่งปันนั้นสิ่งหนึ่งที่จะขาดไม่ได้คือการมีจิตอาสา และในปัจจุบันนี้งานจิตอาสาเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการพัฒนาและยกระดับจิตใจให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ให้มีความเข้าใจเอื้อเฟื้อ หันมาทำกิจกรรมเพื่อสังคมมากขึ้น เพราะงานจิตอาสาเป็นสิ่งที่ให้เยาวชนได้หันมาทำความเข้าใจในตนเองและสังคมเพิ่มมากขึ้น อันจะเห็นได้จากในปัจจุบันปัญหาสังคมเริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้นทั้งทางครอบครัว ชุมชน และสังคม
ดังนั้นหากไม่รีบแก้ไขให้ทันท่วงทีสังคมก็จะตกอยู่ภายใต้ความสบสนวุ่นวายซึ่งไม่ใช่เรื่องดีนัก แต่การสร้างจิตสาธารณะให้เกิดขึ้นในหมู่เยาวชนคนหนุ่มสาวได้มากเท่าไรสังคมแห่งการแบ่งปันเอื้ออาทรก็ยิ่งมีมากเท่านั้น นอกจากจะช่วยให้เยาวชนเหล่านี้ได้ปลดปล่อยพลังที่มีในตัวเองแล้ว ยังเป็นการสร้างคุณลักษณะให้มีผลดีต่อสังคมอีกด้วย
ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 ในหมวดที่ 1 มาตราที่ 6 ว่าด้วยการจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ
สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อิ่นได้อย่างมีความสุข (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2549) ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญในการสร้างทรัพยากรมนุษย์
ที่ทุกสถานศึกษาพึงรับมาปฏิบัติ
มหาวิทยาลัยนับเป็นหนึ่งในสถานศึกษาของรัฐที่ตระหนักถึงการสร้างความแข็งแกร่งทาง
ด้านคุณธรรมให้เกิดขึ้นแก่นิสิต โดยมีภารกิจที่ต้องการ “สร้างคนที่มีปัญญา รู้เหตุรู้ผล อยู่ในคุณธรรม และมีจิตสำนึกเพื่อส่วนรวม” เป็นสำคัญ จากความตระหนักในเรื่องดังกล่าว ทำให้มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญกับชมรมต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชมรมด้านบำเพ็ญประโยชน์ ซึ่งมหาวิทยาลัยใช้กิจกรรมของชมรมเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ และปลูกฝังค่านิยมของการมีจิตสำนึกที่ดีเพื่อส่วนรวมหรือการมีจิตอาสา ให้กับนิสิตทุกระดับชั้น
จากความสำคัญของการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีหน้าที่โดยตรงในการสร้างความงอกงามทางปัญญา
ผ่านกระบวนการผลิตกำลังคนระดับสูงนั้น จึงควรตระหนักถึงการสร้างจิตอาสาให้เป็นพื้นฐานสำคัญ เพื่อการอยู่ร่วมกันและเพื่อการเกิดสังคมแห่งการแบ่งปัน ซึ่งจะทำให้เกิดความสมดุลและพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นจึงทำให้ผู้วิจัยมีความสนใจที่จะศึกษาการรับรู้เกี่ยวกับจิตอาสาของนิสิตจากการเข้าร่วมชมรมด้านบำเพ็ญประโยชน์ว่าเป็นอย่างไร เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการสร้างจิตอาสาให้เกิดขึ้นกับนิสิตได้อย่างแท้จริงต่อไป
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาคุณลักษณะของจิตอาสาตามการรับรู้ของนิสิตมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมชมรมด้าน
บำเพ็ญประโยชน์
2. เพื่ออธิบายความหมายของ“ พฤติกรรมจิตอาสา ” จากการรับรู้ของนิสิตมหาวิทยาลัย
ที่เข้าร่วมชมรมด้านบำเพ็ญประโยชน์
3. เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมจิตอาสาตามการรับรู้ของนิสิต
คำถามของการวิจัย
1. คุณลักษณะของจิตอาสาตามการรับรู้นิสิตมหาวิทยาลัยเป็นอย่างไร
2. นิสิตมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมชมรมด้านบำเพ็ญประโยชน์ให้ความหมายของพฤติกรรม
จิตอาสาว่าอย่างไร
3. มีปัจจัยส่วนบุคคลในเรื่องใดบ้างที่ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมจิตอาสาตามการรับรู้ของนิสิต
ขอบเขตการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ จะทำการศึกษาคุณลักษณะของจิตอาสาตามการรับรู้ การให้ความหมายของคำว่า
“ พฤติกรรมจิตอาสา ” และศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมจิตอาสา โดยจะทำการศึกษานิสิตมหาวิทยาลัย ที่เข้าร่วมชมรมด้านบำเพ็ญประโยชน์
กรอบแนวคิดการวิจัย
1. คุณลักษณะของจิตอาสาตามการรับรู้
2. ปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมจิตอาสา
การทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการตรวจเอกสาร แนวคิด และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย
การรับรู้พฤติกรรมจิตอาสาของนิสิตมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมชมรมด้านบำเพ็ญประโยชน์ มาเป็นแนวทางในการศึกษา ดังนี้
1. ความหมายและแนวคิดการรับรู้
2. แนวคิดเกี่ยวกับจิตอาสา
3. งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับจิตอาสา
ความหมายและแนวคิดการรับรู้
ดุษฎี ไชยชนะ (2550) การรับรู้ คือ กระบวนการแปลผลหรือตีความหมายของสิ่งเร้าหรือสถานการณ์ต่างๆ ในสภาพแวดล้อมผ่านอวัยวะทั้ง 5 ซึ่งการรับรู้จะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยกระบวนการเลือกสรรและการจัดระเบียบข้อมูล ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ในอดีตหรือข้อมูลเดิมที่เรียนรู้มาของบุคคลนั้นๆ
การรับรู้ เป็นกระบวนการซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ซึ่งผลของการรับรู้ก่อให้เกิดการแสดงพฤติกรรมของบุคคล
วลัยลักษณ์ คงนิล (2542) การรับรู้ ของบุคคลขึ้นอยู่กับอิทธิพล 3 สิ่ง คือ
1. ลักษณะของสิ่งเร้า ได้แก่ ขนาดสี รส กลิ่น เป็นต้น ซึ่งคนเร้าจะสามารถรับได้โดยผ่านประสาท
สัมผัสทั้ง 5
2. ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้ากับสิ่งแวดล้อม หากสิ่งเร้าใดขัดต่อการยอมรับทั่วไปของสังคมไม่
สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ หรือสิ่งต่างๆ ที่เป็นปัจจัยรอบตัวบุคคล สิ่งเร้านั้นก็จะไม่ได้รับความสนใจ
3. เงื่อนไขภายในแต่ละบุคคล แต่ละคนจะรับสิ่งเร้าที่สอดคล้องกับกรอบความรู้ของตนเท่านั้น ปัจจัยที่
มีอิทธิพลต่อกรอบแห่งความรู้ คือ ประสบการณ์ ทัศนคติ บุคลิกลักษณะ และแนวความคิดเกี่ยวกับตนเอง
แนวคิดเกี่ยวกับจิตอาสา
ดุษฎี ไชยชนะ (2550) จิตอาสา หมายถึง ความสำนึกของบุคคลที่มีต่อสังคม ส่วนรวมโดยการเอาใจใส่
และการช่วยเหลือ ผู้ที่มีจิตอาสาจะแสดงออกซึ่งพฤติกรรมจิตอาสาทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม เช่น การเสียสละเงิน สิ่งของ เวลา ร่างกาย และสติปัญญา เพื่อช่วยเหลือผู้อื่นและสังคม โดยไม่หวังผลตอบแทน
กรมวิชาการ (2542) ได้กำหนดคุรลักษณะพื้นฐานที่ดำรงต่อการดำรงชีวิตในสังคมยุคโลกาภิวัฒน์
ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาและชั้นมัธยมศึกษา ด้านการช่วยเหลือผู้อื่น การเสียสละต่อสังคม และความมุ่งมั่นพัฒนาไว้ดังนี้
การช่วยเหลือผู้อื่น หมายถึง พฤติกรรมของนักเรียนที่แสดงถึงความมีน้ำใจ เอื้ออาทร มีจิตใจโอบอ้อมอารีเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และให้ความช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน
การเสียสละต่อสังคม หมายถึง พฤติกรรมที่แสดงถึงการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม การเสียสละเวลา กำลังกาย กำลังทรัพย์ เพื่อช่วยเหลือผู้อื่นและสังคม รวมทั้งการเห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน
ความมุ่งมั่นพัฒนา หมายถึง พฤติกรรมที่แสดงถึงความมุ่งและความคิดริเริ่มในการพัฒนาตน พัฒนาสังคม เพื่อให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
โดยแต่ละองค์ประกอบมีองค์ประกอบย่อย ดังนี้
1. พฤติกรรมช่วยเหลือผู้อื่นได้แก่
1.1 ช่วยแนะนำสิ่งที่ถูกที่ควรให้แก่ผู้อื่น
1.2 ร่วมมือกับผู้อื่นในการพัฒนาสังคม
1.3 อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้อื่น
1.4 แบ่งป้นสิ่งของให้แก่ผู้อื่น
2. พฤติกรรมเสียสละต่อสังคม ได้แก่
2.1 สละกำลังกาย กำลังทรัพย์ และเวลาช่วยเหลือผู้อื่นและสังคม
2.2 เห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน รู้จักเป็นผู้ให้มากกว่าผู้รับ
2.3 สละประโยชน์ที่ตนพึงได้รับเพื่อแลกกับประโยชน์ของคนหมู่ใหญ่หรือคนที่อ่อนอแกว่า
2.4 ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม
3. พฤติกรรมมุ่งมั่นพัฒนาสังคม ได้แก่
3.1 สนใจในปัญหาและการเปลี่ยนแปลง พร้อมทั้งเสนอความคิดที่จะพัฒนาสังคม
3.2 ตั้งใจที่จะทำงานอย่างหนึ่งอย่างใดให้สำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด และเป็นประโยชน์ต่อสังคม
3.3 ตั้งใจที่จะทำงานของส่วนรวมจนสำเร็จ
3.4 ริเริ่มสิ่งใหม่ๆ เพื่อพัฒนาสังคมจนสำเร็จ
งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับจิตอาสา
ณัฐณิชากร ศรีบริบูรณ์ (2550, น. 142 – 144) ศึกษาเรื่อง การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของจิตอาสาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้จิตอาสาของนักเรียนมีองค์ประกอบ 3 ด้าน คือ การช่วยเหลือผู้อื่น การเสียสละต่อสังคม และความุ่งมั่นพัฒนา และมีตัวชี้วัดทั้งหมด 7 ตัว คือ (1) การช่วยเหลือแนะนำสิ่งที่ถูกที่ควรแก่ผู้อื่น (2) การอำนวยความสะดวกให้กับผู้อื่น (3) การแบ่งปันสิ่งของให้กับผู้อื่น (4) การสละเงิน แรงกาย เพื่อผู้อื่นและสังคม (5) การสละเวลาและการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชชน์ต่อสังคม (6) การสนใจในปัญหาและการเปลี่ยนแปลงพร้อมทั้งเสนอความคิดเห็นที่จะพัฒนาสังคม และ (7) การร่วมพัฒนากิจกรรมการเสริมสร้างจิตอาสาเพื่อสังคมอย่างสร้างสรรค์และหลากหลายโดยสภาพจิตอาสาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในสังกัดสำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีค่าเฉลี่ยของคะแนนจิตอาสาอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาแต่ละองค์ประกอบด้านการช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ในระดับสูงมาก การเสียสละต่อสังคมอยู่ในระดับปานกลาง และด้านการมุ่งมั่นพัฒนาอยู่ในระดับปานกลาง นอกจากนี้การเกิดจิตอาสาเป็นผลมาจากปัจจัยด้านสังคม/ชุมชน นั่นคือ หากบุคคลสำคัญในสังคม/ชุมชน มีจิตอาสาก็จะส่งผลให้นักเรียนมีจิตอาสา ปัจจัยด้านครอบครัว ความเป็นแบบอย่างจากพ่อแม่มีความสำคัญมากที่สุด นอกจากนี้หากพ่อแม่ใช้เหตุผลในการอบรมเลี้ยงดูและมีการสนับสนุน ส่งเสริมให้นักเรียนทำพฤติกรรมจิตอาสาก็จะส่งผลให้นักเรียนมีจิตอาสาเพิ่มขึ้น สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนและเพื่อน เป็นลักษณะสำคัญของปัจจัยด้านเพื่อน แสดงว่าถ้านักเรียนมีสัมพันธภาพที่ดีกับเพื่อนในระดับสูงก็จะทำให้นักเรียนเกิดจิตอาสามาก และถ้าเพื่อนสนิทหรือเพื่อนในกลุ่มของนักเรียนมีจิตอาสาก็จะทำให้นักเรียนมีจิตอาสาด้วยเช่นกัน ปัจจัยด้านสื่อมวลชนมีอิทธิพลต่อการเกิดพฤติกรรมจิตอาสา นั่นคือ หากนักเรียนได้รับข่าวสารการให้ความช่วยเหลือ การเสียสละต่อสังคม และความมุ่งมั่นพัฒนาจากสื่อโทรทัศน์ก็จะส่งผลให้นักเรียนมีจิตอาสา การสั่งสอนการปลูกฝังจากครู เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในปัจจัยด้านโรงเรียน/ครูที่จะทำให้นักเรียนมีติตอาสา นอกจากนี้แบบอย่างจิตอาสาจากครู และมีสัมพันธภาพที่ดีกับครูก็มีอทธิพลต่อการเกิดจิดอาสาของนักเรียนเช่นกัน ในปัจจัยด้านนักเรียน เจคคติต่อจิตอาสา ดารเรียนรู้เกี่ยวกับจิตอาสา และการรับรู้ความสามารถของตนเองที่จะทำพฤติกรรมจิตอาสามีอิทธิพลต่อจิตอาสาของนักเรียน
ผลการพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของจิตอาสาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานพบว่า ตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรจิตอาสาของนักเรียนได้ร้อยละ 38.60 ซึ่งปัจจัยด้านสังคม/ชุมชน มีอิทธิพลทางตรงและอิทธิพลรวมต่อการเกิดจิตอาสาของนักเรียนมากที่สุด แสดงว่าพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือผู้อื่น การเสียสละต่อสังคม และความมุ่งมั่นในการพัฒนาของบุคคลในสังคม มีอิทธิพลทำให้นักเรียนเกิดจิตอาสา รองลงมาคือ ปัจจัยด้านครอบครัวมีอิทธิพลโดยทางตรงและทางอ้อมต่อจิตอาสาของนักเรียนในทิศทางบวก รวมถึงพฤติกรรมของบุคคลในครอบครัว ก็มีอิทธิพลต่อเด็กเพราะเด็กจะเลียนแบบและแสดงพฤติกรรมตามบุคคลในครอบครัว โดยตัวแปรทั้งสองด้านนี้ส่งผลต่อจิตอาสาอย่างมีนับสำคัญทางสถิติ
วิธีการดำเนินการวิจัย
งานวิจัยเรื่อง “การรับรู้พฤติกรรมจิตอาสาของนิสิตมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมชมรมด้าน
บำเพ็ญประโยชน์” เป็นการดำเนินงานวิจัยด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้วิธีการศึกษาเฉพาะกรณี (Case Study Approach) คือ วิธีการวิจัยที่เน้นการศึกษาเฉพาะกรณีที่เจาะจง มีขอบเขตที่กำหนดได้ชัดเจน และผู้วิจัยจะใช้รูปแบบของการวิจัยโดยศึกษาเชิงพรรณนา (descriptive) และศึกษาแบบมุ่งหาคำอธิบาย (explanatory) โดยมีรายละเอียดของวิธีการดำเนินการวิจัย ดังนี้
การพัฒนากรอบความคิดการวิจัย
เป็นขั้นก่อนการดำเนินการวิจัย โดยผู้วิจัยได้ศึกษาข้อมูลจากเอกสารและงานการวิจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
เรื่องของการพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของจิตอาสาของนักเรียนมัธยม ศึกษาตอนปลายในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อใช้เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย และยังนำไปใช้ในระหว่างการเก็บรวบรวมข้อมูล ตลอดจนในขั้นวิเคราะห์ข้อมูลและสร้างบทสรุป
การเลือกตัวอย่าง
ประชากรที่ใช้ศึกษาในครั้งนี้ เป็นนิสิตมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมชมรมด้านบำเพ็ญประโยชน์
ซึ่งในการนี้ ผู้วิจัยจึงทำการคัดเลือกตัวอย่างโดยการยึดจุดมุ่งหมายของการศึกษาเป็นหลัก เพื่อให้ได้ตัวอย่างที่เหมาะสมกับแนวคิด จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ของการศึกษา แต่เนื่องด้วยผู้วิจัยมีความรู้ที่จำกัดเกี่ยวกับประชากรเป้าหมายของการวิจัย ผู้วิจัยรู้เพียงว่าตนต้องการข้อมูลในเรื่องอะไรบ้างเท่านั้น ซึ่งไม่รู้ว่าจะไปถามใครเพื่อให้ได้ตัวอย่างที่สามารถให้ความรู้หรือข้อมูลได้มากที่สุด (information-rich cases) ดังนั้นจึงทำให้ผู้วิจัยตัดสินใจเลือกใช้ตัวอย่างที่เลือกจากการแนะนำต่อๆ กันไป ซึ่งเป็นไปตามการจำแนกประเภทตัวอย่างของ Patton (อ้างถึงใน ชาย โพธิสิตา, หน้า 129 - 134)
สรุปได้ว่าในการวิจัยครั้งนี้ได้ตัวอย่างเป็น นิสิตมหาวิทยาลัยที่เป็นประธานชมรมด้านบำเพ็ญประโยชน์ โดยได้รับการแนะนำจากเจ้าหน้าที่กองกิจการนิสิตที่ดูแลนิสิตที่เข้าร่วมชมรมต่างๆ ของมหาวิทยาลัย ซึ่งเจ้าหน้าที่หลายๆ ท่านแนะนำตรงกันว่าควรเป็นนิสิตรายนี้ที่จะสามารถให้ข้อมูลได้ดีตามที่ผู้วิจัยต้องการ
การเข้าสนาม
ผู้วิจัยได้ประสานงานกับเจ้าหน้าที่กิจการนิสิตให้ช่วยติดต่อสอบถามความสมัครใจของนิสิตเพื่อการให้ข้อมูล และนัดพบนิสิตในครั้งแรกที่กองกิจการนิสิต
ขั้นที่ 1 ขั้นแนะนำตัว
โดยผู้วิจัยบอกกล่าวถึงผู้วิจัยว่าเป็นใครและต้องการอะไรจากผู้ให้ข้อมูล และจากที่แนะนำตัวเองผู้วิจัยสัมผัสได้ว่านิสิตมีความตั้งใจและพร้อมที่จะให้ข้อมูลเรื่องของการทำงานชมรมด้านบำเพ็ญประโยชน์เป็นอย่างมาก
ขั้นที่ 2 ขั้นสร้างความสัมพันธ์
ผู้วิจัยจะพยายามสร้างความสัมพันธ์โดยการสร้างความเป็นกันเองเป็นเหมือนพี่น้องนิสิตร่วมสถาบันเดียวกัน เพื่อให้นิสิตเกิดความสบายใจในการให้ข้อมูล เพราะไม่อยากให้นิสิตรู้สึกกดดันที่จะต้องให้ข้อมูล ตลอดจนความพยายามของผู้วิจัยในการเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องในเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในจากการทำกิจกรรมของชมรมบำเพ็ญประโยชน์ที่นิสิตทำงานให้อยู่ในขณะนั้นๆ ของการเก็บข้อมูลของผู้วิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้ใช้เทคนิคหลายแบบในการรวบรวมข้อมูล คือ รวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการเชิงลึก การสังเกต และการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง และในการดำเนินการวิจัยครั้งนี้ ได้มีหลักการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำ และสามารถนำมาวิเคราะห์สรุปผลการวิจัยได้อย่างชัดเจน จึงใช้หลักเกณฑ์ของการเก็บรวบรวมข้อมูล ดังนี้
1. บันทึกการสัมภาษณ์ที่เป็นประเด็นสำคัญ ๆ จากนิสิตที่ให้ข้อมูลที่เข้าร่วมกิจกรรมชมรมด้านบำเพ็ญ
ประโยชน์
2. รวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และการตรวจสอบความถูกต้องจากการสัมภาษณ์
3. บันทึกภาพการเข้าร่วมกิจกรรมชมรมด้านบำเพ็ญประโยชน์ของนิสิต
การวิเคราะห์และตีความข้อมูล
ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยจะทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยยึดหลักตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย ซึ่งจะทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ และการสังเกต โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ด้วยวิธีการจำแนกประเภทข้อมูลเป็นหมวดหมู่หรือเป็นประเภท ซึ่งใช้เกณฑ์ตามคุณลักษณ์ที่ข้อมูลนั้นมีอยู่ร่วมกันเป็นตัวจำแนก
โดยจะทำการวิเคราะห์กลุ่มคำหรือสาระบบจำแนกประเภท ซึ่งจะใช้บันทึกภาคสนาม (fieldnotes) เป็นแหล่งข้อมูล โดยจะเริ่มทำดัชนีด้วยการหาคำหลักในการวิเคราะห์ จากนั้นผู้วิจัยจะนำกลุ่มคำ/ความในชุดที่เกี่ยวกับคำหลักมาประมวล แล้วแสดงความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มคำกับคำหลัก ซึ่งจะได้ประโยคที่เป็นข้อสรุปชั่วคราว จากนั้นผู้วิจัยจะนำข้อสรุปย่อยมาปะติปะต่อเข้าด้วยกันให้เป็นชุดของคำอธิบายที่ได้เรื่องราวและเข้าใจได้ ซึ่งข้อความนี้จะถือเป็นข้อสรุปของการวิจัย
ทั้งนี้ในการวิเคราะห์ข้อมูลผู้วิจัยยึดหลักที่สำคัญ คือ ผู้วิจัยจะเริ่มทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยกระทำพร้อมๆ กับการเก็บรวบรวมข้อมูล และในการวิเคราะห์จะไม่สรุปปรากฎการณ์ตามสายตาอย่างคนนอก แต่จะเป็นไปตามมุมมองของคนใน(ผู้ให้ข้อมูล) เป็นสำคัญ โดยมีขั้นตอนหลักๆ ดังนี้
(1) ทำการอ่านข้อมูลทั้งหมดที่ได้จากการสัมภาษณ์ประจำวันหลาย ๆ ครั้ง
(2) ค้นหาคำพูดหรือดึงข้อความที่มีความหมายหรือเป็นการอธิบาย / การให้ความหมายที่สอดคล้องกับที่ศึกษาแยกเป็นประเด็นสำคัญ
(3) จัดกลุ่มคำพูดหรือประเด็นสำคัญนั้นออกเป็นกลุ่มที่มีความหมายคล้ายกัน
(4) อธิบายหรือให้ความหมายของกลุ่มคำนั้น ภายใต้คำบอกเล่าที่แท้จริงของผู้ให้ข้อมูล
(5) อธิบายภาพรวมของประเด็นที่ศึกษาภายใต้ข้อมูลจริง
(6) มีการตรวจสอบประเด็นหลักกับบทสัมภาษณ์และตรวจสอบกับผู้ให้ข้อมูล
การตรวจสอบความถูกต้องตรงประเด็นและความเชื่อถือได้ของผลการวิจัย
คือ สิ่งที่ผู้วิจัยต้องระวังมิให้กระทบต่อความถูกต้องตรงประเด็นและความเชื่อถือได้ของผลการวิจัย ได้แก่
1. ประเด็นของการพรรณกรณีที่ศึกษา
สิ่งที่ควรระวังคือ ความไม่สมบูรณ์ของข้อมูล ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจาก คำถามการวิจัยที่ไม่ดีพอ
ไม่ลึกพอ การบันทึกข้อมูลไม่ดี รวมถึงการเลือกผู้ให้ข้อมูลที่ไม่ใช้ผู้รู้ที่แท้จริง
2. ประเด็นในการตีความข้อมูล
ผู้วิจัยต้องไม่ยึดติดในกรอบแนวคิดที่ตัวเองสร้างขึ้นมามากเกินไป แต่จะต้องตีความบนพื้นฐาน
ของทัศนะและความหมายของผู้ถูกศึกษาเป็นหลัก
การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน
การวิจัยเชิงคุณภาพ เรื่อง “การรับรู้พฤติกรรมจิตอาสาของนิสิตมหาวิทยาลัย ที่เข้าร่วมชมรมด้านบำเพ็ญประโยชน” ในการวิจัยครั้งนี้ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการจำแนกประเภทข้อมูล ได้ผลดังนี้
ตารางที่ 1
กลุ่มคำในชุด | ความสัมพันธ์ | คำหลัก |
| | |
ไม่ได้ทำเพื่อหวังผลประโยชน์ | | |
จิตอาสาเป็นการรวมกลุ่มกัน | | |
จริงใจให้กัน | “ เป็นส่วนหนึ่งของ ” | คุณลักษณะของจิตอาสาตามการรับรู้ |
ทำแล้วต้องไว้วางใจได้ | | |
ต้องซื่อสัตย์ต่อกัน | | |
ไม่เอาผลประโยชน์เข้าตัวเอง | | |
ไม่เบียดเบียนคนอื่น | | |
จากตารางที่ 1 สร้างเป็นข้อสรุปชั่วคราว ได้ว่า จิตอาสาเป็นการรวมกลุ่มกัน ทำแล้วต้องเกิดจิตอาสาจริงๆ
ไม่ได้ทำเพื่อหวังผลประโยชน์ ไม่เอาผลประโยชน์เข้าตัวเอง ต้องซื่อสัตย์ต่อกัน ทำแล้วต้องไว้วางใจได้ จริงใจ
ให้กัน ไม่เบียดเบียนคนอื่น เป็นส่วนหนึ่งของคุณลักษณะของจิตอาสาตามการรับรู้ของนิสิตมหาวิทยาลัย ที่เข้าร่วมชมรมด้านบำเพ็ญประโยชน์
ตารางที่ 2 ผู้วิจัยได้นำเสนอความหมายของพฤติกรรมจิตอาสาตามการรับรู้ของนักศึกษาที่ให้ข้อมูล ประกอบด้วย
การแสดงออกพฤติกรรมจิตอาสา: ในการสร้างทีมงาน
| พฤติกรรมจิตอาสา: ในการสร้างทีมงาน |
มันป็นการสร้างลูกทีมทำให้ลูกทีมเชื่อใจ และเป็นการสร้างเครือข่าย | |
ซึ่งการทำcutทำให้เกิดความสัมพันธ์กันมากขึ้น มีการแบ่งheadในการทำงาน | |
จะมีวิธีการเสนอความคิดมาแต่ละคน และจะได้ขอเสนอของเพื่อนร่วมกันคิดมาจัดการกับประเด็นนั้นๆ เวลาอยู่ค่ายเราจะมีการประชุมสรุปทุกวันว่า กิจกรรมเป็นอย่างไรบ้าง ลูกค่ายเป็นอย่างไร ถ้ามีปัญหาต้องคิดหาวิธีแก้ปัญหาตลอดเวลา | |
และเวลาสอนคนอื่นเราก็ต้องทำให้ได้ด้วย | |
หลักจะยึดตัวเองไม่ได้แต่จะเอาที่ประชุมเป็นหลัก | |
จากตารางที่ 2 สรุปได้ว่า พฤติกรรมจิตอาสาของนักศึกษาผู้ให้ข้อมูลที่แสดงออกในการ ใช้หลักการบริหารทีมงานของนักศึกษาในทีมงานเดียวกัน เพื่อสร้างชมรมและเป็นแนวทางในการบริหารจัดการ อาทิ การเป็นแบบอย่าง การใช้หลักมติเสียงส่วนมากจากที่ประชุม การสร้างความสัมพันธ์
ตารางที่ 3 ผู้วิจัยได้นำเสนอความหมายของพฤติกรรมจิตอาสาตามการรับรู้ของนักศึกษาที่ให้ข้อมูล ประกอบด้วย
พฤติกรรมจิตอาสา: ต่อผลที่ได้รับหรือคาดหวัง
| พฤติกรรมจิตอาสา: ต่อผลที่ได้รับหรือคาดหวัง |
ได้หลายอย่าง ทั้งการเรียนรู้ เช่น การฝึกประสานงาน ได้วิธีการพูดจนเกิดความชำนาญ เช่น การพูดกับผู้ใหญ่ ได้การเขียนหนังสือ การส่งหนังสือให้กองกิจการนิสิตว่าทำอย่างไร เกิดการเรียนรู้ | |
เค้าบอกว่าปุ๋ยมันแห้งแล้วอยากจับดูเดี๋ยวไปล้างมือก็ได้ ทำให้ผมรู้สึกปลื้ม เพราะเดี๋ยวนี้คนที่เข้ามาในชมรมจะไม่เหมือนเมื่อก่อนมาเพราะอยากพักผ่อน แต่เมื่อก่อนมาด้วยใจ มาด้วยอุดมการณ์จริงๆ | |
และจุดประสงค์หลักของผม คือ การให้น้องๆ ได้บำเพ็ญประโยชน์จริงๆ | |
เราต้องมีการแบ่งปันกัน เราต้องซื่อสัตย์ต่อองค์ประชุม ต่อสังคม | |
ทำไปเพราะมีความชอบ อยากช่วยเหลือ เวลาช่วยใครแล้วเค้ายิ้ม เค้ามีความสุข ผมจะดีใจ | |
ไม่รับรู้สังคมว่าจะเป็นอย่างไร มองคนไม่ออก มุมมองคนมันจะเริ่มแคบลงเพราะอยู่แต่โลกของsoftware | |
จากตารางที่ 3 ผู้วิจัยได้นำเสนอความหมายของพฤติกรรมจิตอาสา ว่ามีมุมมองต่อผลที่ได้รับอย่างไร ผลการศึกษาพบว่า ได้รู้จักการพูดกับผู้ใหญ่ ได้การเขียนหนังสือ การส่งหนังสือให้กองกิจการนิสิต เกิดการเรียนรู้ ทำให้ตนเองมีความสุข อยากให้ผู้อื่นมีอุดมการณ์ ต้องการให้รุ่นน้องได้ความรู้สึกต้องการในการแบ่งปันอย่างแท้จริงและส่งผลต่อสังคม
กลุ่มคำในชุด | ความสัมพันธ์ | คำหลัก |
คนที่ก้าวเข้ามาพร้อมที่จะสละเวลาส่วนตัว | | |
เพื่อที่จะให้ผู้อื่นได้มีความสุข | | |
ต้องไม่เดือนร้อนตัวเอง | | |
การทำงานด้วยใจที่เราตั้งใจ | | |
ชอบและสนุกกับมัน สนุกกับงานที่เราทำ | | |
ให้ผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน | “ คือ ” | ความหมายของพฤติกรรมจิตอาสา |
ให้เงิน ให้กำลังใจ หรือให้ทุนทรัพย์ สิ่งของต่างๆ ที่ให้แล้วผู้อื่นที่ได้รับมีความสุข | | |
ผู้อื่นเกิดแรงบันดาลใจ เกิดกำลังใจ เช่น การบรรเทาทุกข์ | | |
การเป็นผู้ให้ | | |
การแบ่งปัน | | |
จากตารางที่ 2 สร้างเป็นข้อสรุปชั่วคราว ได้ว่า จากการรับรู้ของนิสิตมหาวิทยาลัย
ที่เข้าร่วมชมรมด้านบำเพ็ญประโยชน์ได้อธิบายความหมายของ“ พฤติกรรมจิตอาสา ” คือ การเป็นผู้ให้ การแบ่งปัน ให้เงิน ให้กำลังใจ หรือให้ทุนทรัพย์ เป็นการทำงานด้วยใจที่ตั้งใจและสนุกกับมัน พร้อมที่จะสละเวลาส่วนตัว เพื่อที่จะให้ผู้อื่นได้มีความสุข เกิดแรงบันดาลใจ เกิดกำลังใจ โดยไม่หวังผลตอบแทน และต้องไม่เดือนร้อนตัวเอง
ตารางที่ 3
กลุ่มคำในชุด | ความสัมพันธ์ | คำหลัก |
| | |
มีจิตใต้สำนึก | | |
เคยเห็นปัญหา | | |
อยากแก้ไขสิ่งรอบตัวที่เคยผ่านตามา | | |
พร้อมอยากแก้ไข | | |
อยากช่วยเหลือ | “ เป็น ” | ปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลให้เกิด |
ประสบการณ์ที่เคยผ่านมา | | พฤติกรรมจิตอาสา |
โอกาส | | |
ต้องมีใจรัก อยากจะทำ | | |
ความผูกพัน | | |
อุดมการณ์ | | |
จากตารางที่ 3 สร้างเป็นข้อสรุปชั่วคราว ได้ว่า ประสบการณ์ที่เคยผ่านมา เคยผ่านปัญหา เคยเห็นปัญหา
อยากแก้ไขสิ่งรอบตัวที่เคยผ่านตามา มีจิตใต้สำนึก อยากช่วยเหลือ โอกาส พร้อมอยากแก้ไข ความผูกพัน
อุดมการณ์ เป็นปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมจิตอาสาตามการรับรู้ของนิสิต
สรุปผลการวิจัย
ข้อมูลส่วนบุคคล ผู้ให้ข้อมูลเป็นเพศชาย เป็นนิสิตมหาวิทยาลัยกำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 3 กำลังจะขึ้นปี 4 เป็นสมาชิกของชมรมด้านบำเพ็ญประโยชน์ และถูกคัดเลือกให้เป็นประธานฝ่ายบำเพ็ญประโยชน์โดยสมาชิกในชมรมต่างๆ จากทั้งหมด 15 ชมรม ด้วยวิธีการสังเกตจากการทำงานร่วมกัน โดยการโหวตเสียงไม่ใช่จากการเลือกตั้ง
ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้ที่รู้จักชมรมบำเพ็ญประโยชน์และมีประสบการณ์โดยได้เข้าเป็นสมาชิกชมรมรักษ์ช้างไทยตั้งแต่เรียนอยู่ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ณ จังหวัดสุรินทร์ซึ่งเป็นบ้านเกิด อันเนื่องมาจากจากออกค่ายของนิสิตมหาวิทยาลัยและได้เปิดโอกาสให้ผู้ให้ข้อมูลเป็นstaffในสมัยนั้น ต่อมาผู้ให้ข้อมูลได้เข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา ณ มหาวิทยาลัย โดยได้รับสิทธิ์โควตานักกีฬารักบี้ของมหาวิทยาลัย จึงทำให้ผู้ให้ข้อมูลได้เข้าเป็นสมาชิกชมรมรักษ์ช้างไทย จนได้รับเลือกให้เป็นประธานชมรมรักษ์ช้างไทย และเป็นประธานฝ่ายบำเพ็ญประโยชน์ในปัจจับัน ตามลำดับ
ผู้วิจัยได้นำเสนอผลดังนี้ 1.)คุณลักษณะของจิตอาสาตามการรับรู้ของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่เข้าร่วมชมรมด้าน บำเพ็ญประโยชน 2.) อธิบายความหมายของ“ พฤติกรรมจิตอาสา ” จากการรับรู้ของนิสิตมหาวิทยาลัย ที่เข้าร่วมชมรมด้านบำเพ็ญประโยชน์ 3.) ปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมจิตอาสาตามการรับรู้ของนิสิต
1. ผลการศึกษาตามวัตุประสงค์ข้อที่ 1 พบว่า คุณลักษณะของจิตอาสาตามการรับรู้ของนิสิตมหาวิทยาลัย
ที่เข้าร่วมชมรมด้านบำเพ็ญประโยชน์ ผลจากการศึกษา พบว่า คุณลักษณะของส่วนบุคคล ต้องเป็นผู้ที่มีอุดมการณ์ มุ่งมั่น เสียสละทั้งเวลา และผลตอบแทน การเป็นผู้ให้ การแบ่งปัน การเสียสละนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน โดยจะได้ความสุขใจ เมื่อช่วยให้ผู้อื่นมีความสุข และคุณลักษณะการทำงานจิตอาสาของนิสิตต้องทำงานร่วมกันเป็นทีมใหญ่ สำหรับแนวคิดคุณลักษณะจิตอาสาของผู้ที่เข้ามาร่วมงานในทีมนั้น มีความเห็นว่า ต้องไว้วางใจได้ ต้องซื่อสัตย์ต่อกัน ไม่เอาผลประโยชน์เข้าตัวเอง ไม่เบียดเบียนคนอื่น และเกิดจากอุดมการณ์ร่วมกัน มากกว่า ความต้องการเพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ ไม่ใช่เพียงแค่เข้าชมรมเพื่อพักผ่อนยามว่างเท่านั้น ต้องสร้างให้รุ่นน้องรักอุดมการณ์ และมีความรู้สึกได้บำเพ็ญประโยชน์จริงๆ นิสิตผู้ให้ข้อมูลกล่าวว่า “….ไม่ใช่เพียงแค่เข้าชมรมเพื่อพักผ่อนยามว่างเท่านั้น ต้องสร้างให้น้องรักอุดมการณ์ของชมรม เช่น ชมรมอนุรักษ์ น้องก็ต้องมีความรู้สึกอยากอนุรักษ์จริงๆ ตามอุดมการณ์ของชมรม และจุดประสงค์หลักของผม คือ การให้น้องๆ ได้บำเพ็ญประโยชน์จริงๆ “
2.ผลการศึกษาตามวัตุประสงค์ข้อที่ 2 เพื่ออธิบายความหมายของ“ พฤติกรรมจิตอาสา ” จากการรับรู้ของ
นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่เข้าร่วมชมรมด้านบำเพ็ญประโยชน์ ทั้งนี้ผู้วิจัยได้นำเสนอการแสดงออกถึงพฤติกรรมจิตอาสาใน 3 ประเด็นดังนี้ พฤติที่แสดงออกส่วนตน พฤติกรรมจิตอาสา ในการสร้างทีมงาน พฤติกรรมจิตอาสา ต่อผลที่ได้รับหรือคาดหวัง 1.) สำหรับพฤติกรรมที่แสดงออกส่วนตน คือ การเป็นผู้ให้ การแบ่งปัน ให้กำลังใจ หรือให้ทุนทรัพย์ เป็นการทำงานด้วยใจที่ตั้งใจและสนุกกับสิ่งที่ทำ พร้อมที่จะสละเวลาส่วนตัว เพื่อที่จะให้ผู้อื่นได้มีความสุข เกิดแรงบันดาลใจ เกิดกำลังใจ โดยไม่หวังผลตอบแทน พบว่า “ ….ตักไอศครีม ถือป้ายข้อความ ตีกลอง เล่นกีตาร์ ถือกล่องรับบริจาค เป็นต้น ผู้ให้สัมภาษณ์ดำเนินกิจกรรมโดยไม่นั่งพักถึงแม้ว่าจะร้อนและเมื่อยเพราะเหงื่อออกมากและยืนเป็นเวลานานไม่ต่ำกว่า 3 ชั่วโมงสลับกับการดูแลผู้วิจัยโดยให้สัมภาษณ์…. “
ประเด็นค้นพบที่สอง คือ 2.) พฤติกรรมจิตอาสา ที่แสดงออกในการสร้างทีมงาน ได้แสดงพฤติกรรมต่อทีมงานของตน ในการการเป็นแบบอย่าง การใช้หลักมติเสียงส่วนมากจากที่ประชุม การสร้างความสัมพันธ์ในทีมงาน การมองข้ามจุดเล็ก เพื่อเป้าหมายหลัก กล่าวว่า “ “….ซึ่งบางครั้งก็มีปัญหากับชุมชนบ้างในการเป็นผู้นำ คือ ทำดีเสมอตัว แต่ทำพลาดคนว่า อย่างผมทำงานเป็นประธานก็ต้องเข้าใจมุมมองเล็กๆ เวลาทำงานเค้าไม่มองแต่เวลาทำผิดเล็กๆ เค้าก็จะพูดกันจนเป็นประเด็นใหญ่โต ซึ่งบางครั้งก็ท้อแต่มีเพื่อนคอยให้กำลังใจ ณ ตอนนี้ก็ปล่อยวางบ้างแล้ว ทุกอย่างในการกระทำมีเหตุผล ใช้เหตุผลคุยกัน กับคนในชมรมต้องมีวิธีการพูดเพื่อซื้อใจกัน มีคำหนึ่งในใจผมที่ว่า “ถ้าน้องเถียงในเรื่องที่ถูกผมยอมว่าน้องถึงน้องจะโกรธผมยอม ผมเชื่อว่าสักวันน้องจะคิดได้ และเวลาสอนคนอื่นเราก็ต้องทำให้ได้ด้วย เราต้องเป็นต้นแบบให้เค้า ก็เหมือนพ่อแม่เป็นตัวอย่างที่ดีลูกก็จะดีเอง………หลักจะยึดตัวเองไม่ได้แต่จะเอาที่ประชุมเป็นหลัก “ ประเด็นที่ 3.) พฤติกรรมจิตอาสา ต่อผลที่ได้รับหรือคาดหวัง ผลการศึกษาพบว่า ได้รู้จักการพูดกับผู้ใหญ่ ได้การเขียนหนังสือ การส่งหนังสือให้กองกิจการนิสิต เกิดการเรียนรู้ ทำให้ตนเองมีความสุข อยากให้ผู้อื่นมีอุดมการณ์ ต้องการให้รุ่นน้องได้ความรู้สึกต้องการในการแบ่งปันอย่างแท้จริงและส่งผลต่อสังคมที่ในปัจจุบันมุ่งแต่การใช้ เทคโนโลยี จนทำให้มีผู้สนใจจิตอาสาน้อยลง นิสิตกล่าวว่า “….การทำงานบำเพ็ญประโยชน์เป็นงานจิตอาสาทำงานด้วยใจ เงินก็ไม่ได้ ใช้แรงล้วนๆ ใครว่างก็มาช่วยกัน ได้หลายอย่าง ทั้งการเรียนรู้ เช่น การฝึกประสานงาน ได้วิธีการพูดจนเกิดความชำนาญ เช่น การพูดกับผู้ใหญ่ ได้การเขียนหนังสือ การส่งหนังสือ….. ทำให้ผมรู้สึกปลื้ม เพราะเดี๋ยวนี้คนที่เข้ามาในชมรมจะไม่เหมือนเมื่อก่อนมาเพราะอยากพักผ่อน แต่เมื่อก่อนมาด้วยใจ มาด้วยอุดมการณ์จริงๆ “
3.)ผลการศึกษาตามวัตุประสงค์ข้อที่ 3 พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมจิตอาสา
ตามการรับรู้ของนิสิต ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่มาจาก บริบททางครอบครัวของนิสิตผู้นี้ ทั้งคุณพ่อ คุณแม่ และพี่น้อง ซึ่งได้รับการปลูกฝังตั้งแต่ กล่าวคือ “…พ่อผมเป็นนักพัฒนาชนบท เมื่อก่อนหมู่บ้านผมเป็นหมู่บ้านที่ไม่มีอะไรเลย ยากจน พ่อผมนำเรื่องตระกร้าหวายเข้ามาเผยแพร่ให้กับชุมชนได้มีการเปิดเป็นกลุ่มหัตถกรรมขึ้นมา พ่อเป็นนักพัฒนาเก่า…. ผมเห็นพ่อออก TVบ่อย ในรายการฟ้าใสใจจริง พ่อผมเคยช่วยเหลือเด็กยากจน พ่อเป็นต้นแบบให้กับชุมชน.พ่อ แม่ ผมเป็นครู ผมมีพี่น้อง 3 คน ผมเป็นลูกหลงคนสุดท้อง พี่ชายเป็นทหาร พี่สาวเป็นครูตอนเด็กๆ ผมค่อนข้างดื้อ แต่พอได้ทำกิจกรรมทำให้ผมเข้าใจชีวิตมากขึ้น อยากทำงานเพื่อส่วนรวมมันเปลี่ยนแนวคิดผม คือ เค้าไม่ทำแล้วใคร่จะทำ การจะทำอะไรต้องมีแผน 2 รองรับเสมอ เพื่อการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าให้ได้ เช่น วันนี้ปลูกป่า ถ้าฝนตกจะทำอย่างไร ทุกอย่างเกิดจากประสบการณ์ “
จากผลการวิจัยพบว่าสอดคล้องกับงานวิจัยเรื่องการพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของจิตอาสาของนักเรียนมัธยม ศึกษาตอนปลายในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่พบว่าจิตอาสาของนักเรียนมีองค์ประกอบ 3 ด้าน คือ การช่วยเหลือผู้อื่น การเสียสละต่อสังคม และความุ่งมั่นพัฒนา (ณัฐณิชากร, 2550)
แต่สิ่งที่แตกต่างของผลการวิจัย คือ ผู้ที่มีพฤติกรรมจิตอาสาตามการรับรู้ของนิสิตนั้น ………………….
ต้องคำนึงถึงผลของการกระทำในเรื่องนใดๆ ก่อนว่าตัวเองจะเดือนร้อนหรือไม่ จะใช้การไตร่ตรองก่อนกระทำการใดๆ ถึงผลกระทบที่อาจถึงตัวเองนั้นคือตัวเองต้องไม่เดือดร้อน
1 comment:
เป็นงานวิจัยที่เป็นประโยชน์มากค่ะ ขออนุญาตนำไปประยุกต์ใช้นะคะขอบพระคุณค่ะ
Post a Comment