Saturday, December 17, 2011

วิเคราะห์โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสิงคโปร์แอร์ไลน์เฉลิมพระเกียรติ



วิเคราะห์โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสิงคโปร์แอร์ไลน์เฉลิมพระเกียรติ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา
๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของโรงเรียน
สถานที่ตั้ง
หมู่ที่ ๑๖ บ้านหนองบอน ตำบลทุ่งขนาน อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี
สังกัด กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๑ ( ค่ายเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) )
ฝ่ายอำนวยการ ๗ กองบังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
ประวัติความเป็นมา
โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสิงคโปร์แอร์ไลน์เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒
เดิมชื่อ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหนองบอน จัดตั้งตามความต้องการของประชาชนในพื้นที่
ซึ่งได้รับการอนุมัติจัดตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ ๓ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๐ โดยได้รับความร่วมมือจากประชาชนในพื้นที่ร่วมบริจาคทรัพย์จัดซื้อที่ดินจำนวน ๒๓ ไร่ ๒ งาน และก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราว ๖ ห้องเรียน
โดยทำการสอนในระดับชั้น ป.๑ –ป.๖ ต่อมาในปี
พ.ศ.๒๕๓๒ โรงเรียนสตรีวิทยา ๒ กรุงเทมหานคร ก่อสร้างอาคารเรียน
พ.ศ.๒๕๓๒ องค์การ ยูเอ็น โปร์ ก่อสร้างโรงอาหาร
พ.ศ.๒๕๔๒ บริษัทสิงคโปร์แอร์ไลน์จำกัด(มหาชน) ก่อสร้างอาคารเรียน
ปรัชญา
สร้างภูมิปัญญา พัฒนาคุณภาพชีวิต สัมฤทธิ์ผลความมั่นคง
วิสัยทัศน์
มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถทางวิชาการควบคู่กับวิชาชีพเน้นการปฏิบัติจริง เสริมสร้างผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นไทย รักท้องถิ่นของตน อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสืบสานวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น


ส่วนที่ 2 การบริหารจัดการของโรงเรียน

การบริหารจัดการ เป็นแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ ของครูเกื้อ เรืองทับ เป็นครูใหญ่ของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสิงคโปรแอร์ไลน์ฯ มีความเป็นผู้นำที่มีการวางแผนกลยุทธ์ มี ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ และกำหนดเป้าหมายชัดเจนมุ่งสู่ความสำเร็จ ดังนี้
ปรัชญา
สร้างภูมิปัญญา พัฒนาคุณภาพชีวิต สัมฤทธิ์ผลความมั่นคง

วิสัยทัศน์
มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ความสามารถทางวิชาการควบคู่กับวิชาชีพเน้นการปฏิบัติจริง เสริมสร้างผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นไทย รักท้องถิ่นของตนอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสืบสานวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
ภารกิจหลัก 4 ด้าน
1.การบริหารวิชาการ
2.การบริหารงบประมาณ
3.การบริหารงานบุคคล
4.การบริหารทั่วไป
วัตถุประสงค์
1.ส่งเสริมโภชนาการละส่งเสริมสุขภาพอนามัยของเด็กและเยาวชนตั้งแต่ในครรภ์มารดา
2.ส่งเสริมสนับสนุนการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชน
3.เสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชนในการเรียนรู้ทางวิชาการ
4.เสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชนทางการอาชีพ เพื่อการดำรงชีวิตที่ดีงาม
5.เสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
6.เสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชนในการอนุรักษ์และสืบทอดวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
การบริหารเชิงกลยุทธ์
ผู้นำหรือครูใหญ่ได้มีการกำหนดเป็นแผนโดยผ่านการพิจารณาจากผู้บังคับบัญชา คณะกรรมการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในท้องถิ่น จึงนำแผนไปสู่การปฏิบัติ โดยมีการบริหารแบบมีส่วนร่วม การบริหารโครงการ นอกจากนี้ การนำแผนสู่การปฏิบัติ โดยมีครูในโรงเรียนเป็นผู้รับผิดชอบร่วมกับชุมชนในการจัดการเรียนการสอนที่บูรณาการจากแผนกลยุทธ์ที่มีลักษณะการเรียนการสอนทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนที่เรียนรู้จากสถานการณ์จริงภายใต้โครงการในพระราชดำริสมเด็จพระเทพฯ จำนวน 8 โครงการ ดังนี้
1. โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
2. โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา
3.โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4. โครงการนักเรียนในพระราชานุเคราะห์ในพระเทพรัตน์ราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี
5.โครงการฝึกอาชีพ
6.โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน
การบริหารแผนกลยุทธ์
การบริหารแผนกลยุทธ์สู่การปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายความสำเร็จที่ชัดเจน ดังนี้
1. ประเมินสภาพการณ์ของโรงเรียนด้วยการระดมการคิดแบบการมีส่วนร่วมของ ผู้กำกับการตำรวจ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้ปกครอง องค์กรท้องถิ่น กรรมการสถานศึกษา
2. วางแผนร่วมกันทั้งผู้บริหารและครู
3. การนำแผนสู่การปฏิบัติ มีการมอบหมายครูผู้รับผิดชอบแต่ละแผนหรือโครงการ
4. การกำกับ ติดตามและประเมินผล มีการติดตามประเมินจากภายใน และรับการตรวจประเมินจากภายนอก ได้แก่ สมศ.
การบริหารจัดการตามแผนงานที่ครอบคลุม 4 ภารกิจหลัก ดังนี้
ด้านการบริหารวิชาการ
รูปแบบการจัดการศึกษาตามแนวพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี มีลักษณะเป็นระบบที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและบริบทชุมชน
1.1 หลักสูตร ใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานควบคู่กับหลักสูตรสถานศึกษา(หลักสูตรท้องถิ่น และวิชาสมเด็จย่า
1.2 การจัดเรียนการสอนแบบ การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนและการจัดการเรียนการสอนนอกชั้นเรียนที่เพิ่มพูนทักษะการดำเนินชีวิตที่เป็นโครงการในพระราชดำริ จำนวน 8 โครงการ ดังนี้
1.2.1 โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
1.2.2 โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา
1.2.3 โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
1.2.4 โครงการนักเรียนในพระราชานุเคราะห์ในพระเทพรัตน์ราชสุดาฯ
1.2.5โครงการฝึกอาชีพ
1.2.6โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน
1.2.7โครงการส่งเสริมสหกรณ์
1.2.8โครงการส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพอนามัยแม่และเด็กในถิ่นทุรกันดาร
1.3 สื่อนวัตกรรม มีการจัดให้มีสื่อจากสถานการณ์จริง เช่น แปลงผัก คอกหมู เล้าไก่ไข่ บ่อเลี้ยงปลา บ่อกบ โรงเห็ด ซุ้มน้ำดื่มไอโอดีน โรงอาหาร สหกรณ์โรงเรียน
1.4 การนิเทศติดตาม การตรวจเยี่ยมจากหน่วยงานต้นสังกัด ครูใหญ่นิเทศครู
1.5 การวัดและประเมินผล การวัดผลระดับห้องเรียน ระดับโรงเรียน ระดับชาติ ทั้งนี้ พบว่า ผลการประเมินระดับชาติขั้นพื้นฐาน ( O-Net) ของนักเรียนระดับชั้น ป.๖ ปีการศึกษา ๒๕๕๒ คะแนนเฉลี่ยวิชาคณิตศาสตร์ ๔๕.๒๐ , วิชาวิทยาศาสตร์ ๔๔.๐๘ , วิชาสังคมศึกษา ๓๗.๔๐ , วิชาศิลปะ ๔๗.๑๗ ,วิชาการงานพื้นฐานอาชีพและเทคโนโลยี ๖๐.๐๐ ,วิชาภาษาอังกฤษ ๕๑.๐๐ สูงกว่าระดับจังหวัด และระดับประเทศ ส่วนคะแนนเฉลี่ย วิชาภาษาไทย ๓๘.๓๓ วิชาสุขศึกษา ๖๐.๔๐ ต่ำกว่าระดับจังหวัด และ ระดับประเทศ
ด้านการบริหารงบประมาณ งบประมาณมาจาก หน่วยงานต้นสังกัดสนับสนุนค่าอาหารกลางวันต่อหัว 13 บาท ต่อคนต่อวันงบประมาณจากการบริจาคภาคเอกชน งบสนับสนุนจากองค์กรท้องถิ่น ชุมชน
ด้านการบริหารงานบุคคล
3.1 การสรรหาครูและการคัดเลือกครู มี 2 กรณี คือ การสมัครใจ และโครงการครุทายาท
3.2 การรักษาครู จัดระบบการบริหารที่มีอิสระและยืดหยุ่น และเน้นการสนับสนุนครูให้มีความก้าวหน้า
3.3 การพัฒนาครูประจำการ มี 3 ลักษณะ คือ การศึกษาต่อเนื่อง การฝึกอบรมทั้งการอบรมวิชาการประจำปีและการอบรมตามโครงการในพระราชดำริฯ และนิเทศการจัดการเรียนรู้โดยหน่วยราชการต่างๆที่เกี่ยวข้อง
3.4 การสร้างความผูกพันระหว่างครูกับชุมชน ในบทบาทผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ ครูผู้ให้ความรู้และการขยายโอกาสทางการศึกษาแก่เด็กและเยาวชน
3.5 การสร้างจิตวิญญาณครูเพื่อการพัฒนาการศึกษาตามแนวพระราชดำริฯ ด้วยการกระตุ้นสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ถือเป็นแรงบันดาลใจอันยิ่งใหญ่ ของครู ตชด. ร่วมฟันฝ่าอุปสรรคนานัปการ เพื่อเด็กที่ขาดโอกาสการเรียนรู้ และให้สามารถดำรงชีวิตได้ในชุมชน ตามเป้าหมายการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาล
ด้านการบริหารทั่วไป
การบริหารทั่วไป ได้แก่ งานอาคารสถานที่ สภาพบรรยากาศสิ่งแวดล้อม แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน มีการแบ่งเขตความรับผิดชอบ โดยครูและนักเรียน ร่วมกันจัดการดูแลสถานที่ โดยแบ่งออกเป็นกลุ่ม ซึ่งมีครูเป็นผู้ดูแล และนักเรียนรุ่นพี่ เป็นหัวหน้าในการให้นักเรียนรุ่นน้องในกลุ่ม ร่วมกันปฏิบัติ

ส่วนที่ 3 แนวทางการวิเคราะห์ การจัดการความเปลี่ยนแปลง (Change Management)

ความหมายของการบริหารการเปลี่ยนแปลง
Change Management is the use of systematic methods to ensure a planned organizational change can be guided in the planned direction, conducted in a cost effective and efficient manner, and completed within the targeted time frame and with the desired resulted (Holland & Davis Management Consulting Services)
The process of modifying/revising a particular design, operation, technique, or system, includes both hardware and software, as well as transition planning (Paul F. Wilson and others)
ประเด็นที่ 1 แนวทางในการเปลี่ยนแปลง
ทฤษฏี การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในองค์กรจะมีอยู่ 3 ลักษณะ คือ
1. การเปลี่ยนแปลงแบบปฏิวัติ (Revolutionary Change) เป็นการเปลี่ยนแปลงที่หวังผลอย่างฉับพลันทันที ซึ่งผู้บริหารมักจะใช้อำนาจและสั่งให้พนักงานปฏิบัติตามที่ตนต้องการ
2. การเปลี่ยนแปลงแบบมีวิวัฒนาการ (Evolutionary Change) เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป อย่างช้า ๆ ที่เรียกได้ว่าเกือบจะอยู่ตรงกันข้ามกับวิธีการปฏิวัติ
3. การเปลี่ยนแปลงแบบวางแผน (Planned Change) เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ทำอย่างเป็นระบบ เพราะมีการศึกษา วิเคราะห์ และวางแผนไว้ล่วงหน้า
การวิเคราะห์
ครูใหญ่ใช้แนวทางการบริหารการเปลี่ยนแปลงแบบ การเปลี่ยนแปลงแบบวางแผน (Planned Change) เนื่องจากมีการทำแผนรองรับการเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน ดังนี้
1. การบริหารด้านบุคลากร มีโครงการ แผนการพัฒนาบุคลากรร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี การเพิ่มอัตรากำลังโดยงบองค์การบริหารส่วนตำบล
2. การบริหารด้านการเรียนการสอน โดยจ้างครูพิเศษในวิชาภาษาอังกฤษ การพัฒนาสื่อการสอนโดยคอมพิวเตอร์
3. การบริหารโครงการอาหารกลางวัน การร่วมทำชุมชนในการพัฒนาแปลงผักสวนครัว การเพาะเลี้ยงฟาร์มไก่

ประเด็นที่ 2 รูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลง
ทฤษฏี รูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลง มีดังนี้
1. รูปแบบ 3 ขั้นตอน ( Kurt Lewin) ประกอบด้วย การคลายตัว (unfreezing) การเปลี่ยนแปลง (changing) คือ การเปลี่ยนจากพฤติกรรมเก่า ไปสู่พฤติกรรมใหม่ และการกลับคงตัวอย่างเดิม (refreezing) เพื่อหล่อหลอมพฤติกรรมใหม่ให้มั่นคงถาวร
2. รูปแบบ 2 ปัจจัย ( Larry Greiner) ที่เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงเกิดจากแรงบีบภายนอก กับการกระตุ้นผลักดันภายใน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงมีอยู่ตลอดเวลา จึงต้องดำเนินการเปลี่ยนแปลงโดย ศึกษาการเปลี่ยนแปลง ค้นหาวิธีการที่ดีกว่า ทดลองวิธีใหม่ หล่อหลอมข้อดีเข้าด้วยกัน เพื่อบริหารการเปลี่ยนแปลงอย่างมีประสิทธิภาพ
3. รูปแบบผลกระทบของปัจจัย ( Harold J. Leavitt) ที่เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงเกิดจากผลกระทบที่เกิดขึ้นตลอดเวลาของ งาน โครงสร้าง เทคนิควิทยาการ และคน ทั้ง 4 ประการนี้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงก็จะส่งผลกระทบเกี่ยวพันกัน และการเปลี่ยนแปลงบางเรื่องอยู่เหนือการควบคุม
การวิเคราะห์ ครูใหญ่ใช้รูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงแบบรูปแบบ 3 ขั้นตอน ( Kurt Lewin) และ รูปแบบ 2 ปัจจัย ( Larry Greiner) ในลักษณะการผสมผสาน เนื่องจาก การเปลี่ยนแปลงมาจากสิ่งแวดล้อมภายนอกโรงเรียน ชุมชนที่ฐานะยากจน และแรงขับกระตุ้นภายในของครูใหญ่ และคณะครู นำไปสู่แนวคิดการเปลี่ยนแปลงภายในโรงเรียน ( Larry Greiner) ในลักษณะของโครงการต่างที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากดิม สู่แนวทางใหม่ และหล่อหลอมพฤติกรรมใหม่ให้เป็นมาตรฐานการทำงานของโรงเรียน อาทิ โครงการอาหารกลางวันที่สร้างตระหนักให้ชุมชนเห็นความสำคัญของอาหารกลางวัน และเข้ามามีส่วนร่วม ตั้งแต่ทำแปลงผัก การผลัดเวรประกอบอาหาร อีกทั้ง หลายโครงการที่นักเรียนและคณะครูต้องมีส่วนในการรับผิดชอบ เช่น ต้องเก็บไข่ไก่ การเติมน้ำโครงการไอโอดีน จนกลายเป็นวิถีชีวิตอย่างยั่งยืนในโรงเรียนของนักเรียนรุ่นต่อๆ ไป

ประเด็นที่ 3 ระดับการเปลี่ยนแปลงที่เกิด
ทฤษฏี ระดับการเปลี่ยนประกอบด้วย
1. ระดับบุคคล Individuals: : ความก้าวหน้าในอาชีพ, การเลื่อนตำแหน่ง, การเรียนรู้.
2. ระดับกลุ่ม Groups: Kaizen, Team building, Changes in composition and tasks
3. ระบบ Systems: กระบวนการของธุรกิจ, วัฒนธรรม, ช่องว่างของอำนาจ
การวิเคราะห์ จากการวิเคราะห์ คาดว่า โรงเรียนตำรวนตระเวนชายแดนสิงคโปร์ มีระดับการเปลี่ยน ในระดับส่วนบุคคล และระดับกลุ่ม เห็นได้จาก คณะครูและนักเรียนได้เกิดการเรียนรู้มากกว่านักเรียนในโรงเรียนอื่นๆทั่วไป นักเรียนการพัฒนาด้านอาชีพ ระบบการช่วยเหลือระหว่างประถมปลาย และประถมต้น การปลูกฝังด้านสหกรณ์ ส่วนระดับกลุ่มจะเห็ยได้จาก เกิด Team building ของชุมชนและโรงเรียน การยกระดับโรงเรียนผลสัมฤทธิ์ (Changes in composition and tasks) การเรียนสูงกว่ามาตรฐานระดับจังหวัด ผลการประเมินของสมศ.เทียบกับโรงเรียนอื่นๆ ในจังหวัดเดียวกัน

ประเด็นที่ 4 มิติของการเปลี่ยนแปลง
ทฤษฏี มิติการเปลี่ยนประกอบด้วย
Ø ขอบเขต (องค์การ / ชุมชน / ผู้มีส่วนร่วม) : การเปลี่ยนแปลงเกิดในโรงเรียนและชุมชน โดยชุมชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ในลักษณะพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
Ø กลยุทธ์ ( เน้นเฉพาะจุด หรือทั้งองค์กร ) : ครูใหญ่และคณะครู ใช้กลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงทั้งองค์กร เห็นได้จาก มีหลายโครงการที่ให้ผลในเชิงบูรณาการ สู่นักเรียนและชุมชน
Ø ความเร่งด่วน ( มาก หรือ น้อย) : ระดับความเร่งด่วนในแต่ละเรื่องไม่เท่ากัน มีการจัดสรร และพัฒนาอย่างค่อยเป็นค่อยไป
Ø ขนาด การลงทุน ทรัพยากร ( พอเพียง หรือ ขาดแคลน) : ยังขาดแคลน
Ø รูปแบบ( บนลงล่าง / ล่างขึ้นบน /ทั้งสองทาง) : ลักษณะบนลงล่าง โดยเริ่มจากครูใหญ่สู่คณะครู นักเรียน ตามลำดับ
Ø วิธีการ (ครั้งใหญ่ หรือค่อยๆเปลี่ยนแปลง ) : เปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป

การวิเคราะห์
ท้ายสุดจากแผนภาพสิ่งที่โรงเรียนและนักเรียนจะได้รับจากการทำงาน คือ Financial Performance จากการฟังแนวคิด พบว่าครูใหญ่ จะนำรายได้ต่างๆ มาผสมผสานและก่อให้เกิดรายได้ที่มากขึ้นในโครงการต่อไป โดยเกิดการคณะครู นักเรียน และชุมชนร่วมกัน หน่วยงานราชการ (Team Work) มีการวางกรอบการทำงานเป็นแนวทาง ( Formal Structure) โดยอาศัยความสามารถด้านต่างๆของชุมชน องค์การ เช่น องค์การบริหารส่วนจังหวัด สหกรณ์จังหวัดดูแลสหกรณ์ในโรงเรียน สถาบันการศึกษาพัฒนาครู ( Individual Competence) มาร่วมกันทำงาน

No comments: